ความรู้งานก่อสร้าง

เรื่อง งานตอกเสาเข็มไมรโคไพล์

วิธีการและขั้นตอนการตอกเสาเข็มไมโครไพล์

ขั้นตอนและกรรมวิธีการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ คือ จะทำการตอกเสาเข็มท่อนแรกลงไปในดินจนเกือบมิดก่อน แล้วใช้ปั้นจั่นดึงเสาเข็มท่อนต่อไป นำไปต่อกับเสาเข็มต้นที่ตอกไว้ให้สนิทแล้วทำการเชื่อมให้สนิท  การเชื่อมจะต้องเชื่อมอย่างประณีตโดยรอบให้เสาเข็มทั้งสองท่อนต่อกันอย่างสนิทและเป็นแนวเส้นตรง  จากนั้นจึงใช้ปั้นจั่นตอกลงไปต่อ

ถ้าจำนวนครั้งในการตอกน้อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่าย แสดงว่าความหนาแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนัก ยังมีไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มไมโครไพล์และตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่าจำนวนครั้งในการตอกจะเป็นไปตามที่กำหนด ในทางตรงกันข้ามถ้าจำนวนครั้งในการตอกมีมากเพียงพอแล้วแม้ว่าเสาเข็มที่ตอกนั้น จะยังจมไม่มิดก็อาจแสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการับน้ำหนักเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องต่อลงไปอีก เพราะจะฝืดและถ้าตอกต่อไปอาจทำให้เสาเข็มที่เจาะลงไปแตกหักหรือชำรุดได้ ส่วนจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็มแต่ละต้นควรจะเป็นเท่าใดนั้นวิศวกรจะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและสภาพของดิน ขนาดของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็ม

 

ข้อควรระวังและให้ความใส่ใจ เรื่องการตอกเสาเข็มไมโครไพล์

  1. เช็คว่าเสาเข็มนั้น มี ม.อ.ก. หรือไม่ โดยให้ผู้รับจ้าง นำเอกสารรับรอง ตรา ม.อ.ก. มาแสดง
  2. ตรวจสอบเงื่อนไขการ ตอกเสาเข็มไมโครไพล์ กำหนดด้วยความยาว หรือ Blow Count
  3. ขนาด พื้นที่หน้าตัด อายุของเข็ม และ คุณภาพของเสาเข็ม ถูกต้องหรือไม่
  4. ตรวจสอบ หัวเข็มได้ฉากกับแนวแกนหรือไม่เอียงเกินข้อกำหนดหรือไม่
  5. หัวเข็มตามแบบมี Dowel หรือไม่
  6. เช็คสภาพความพร้อม – ปั้นจั่น

 

ตัวอย่างการตรวจนับ การ Blow Count ตามวีดีโอ ด้านล่างนี้