ความรู้งานก่อสร้าง “การรับน้ำหนักของพื้นคอนกรีต”

สาระน่ารู้ : การรับน้ำหนักของพื้นคอนกรีต

 

ในการคำนวณการรับน้ำหนักของพื้นคอนกรีตนั้นวิศวกรได้คำนวณมาตรฐานของคอนกรีตไว้สำหรับการรับน้ำหนักแรงกดลงพื้น

วันนี้ขอเสนอความรู้เกี่ยวกับการรับน้ำหนักของพื้นอาคารมาฝากครับ

 

พื้นคอนกรีตที่หนาช่วง 10-15ซม. จะเป็นพื้นบ้านหรืออาคารพาณิชย์ทั่วไป ที่เป็นแผ่นพื้นสำเร็จ ที่มีความหนาอยู่ที่ 10ซม. นั่นเอง หากเทท็อปปิ้งด้วยก็จะมีความหนา 15ซม. (ท็อปปิ้งมักเท5ซม.)

ในการคอริ่ง หากไม่โดนตำแหน่งคาน  ก็สามารถเจาะได้ทุกตำแหน่งตามปกติ พื้นคอนกรีตที่หนาช่วง 20-25ซม จะเป็นพื้นอาคารสูง(ที่มีลิฟต์) พื้นแบบเท(หล่อแบบ)มีสลิง ที่เรียกกันว่า ‘พื้นโพสเทนชั่น’ โดยระยะสลิงมักจะอยู่ในช่วง 15ซม ลงมาจากผิวพื้น ซึ่งในการคอริ่งเจาะรูพื้นประเภทนี้ต้องระวัง หลีกเลี่ยง สลิง ในพื้นด้วย

 พื้นคอนกรีตที่หนาช่วง 25-30ซม จะเป็นพื้นชั้นแรกของอาคาร ,ชั้นใต้ดิน ,โกดัง ,โรงงาน ที่ต้องรับน้ำหนักมากในการวางของ หรือวางเครื่องจักร จึงมีเหล็กในพื้นหนาแน่น และมีขนาดใหญ่ ทำให้การคอริ่งตอนเจาะใช้เวลานาน

นอกจากจะเจอเหล็กหลายชั้นแล้ว บางแห่งใช้คอนกรีตที่มีความแข็ง (Concrete compressive strength) สูงมากกว่าปกติ เพื่อช่วยในการรับน้ำหนักของพื้นมากขึ้นไปอีก ทำให้ช่วงคอริ่งเจาะปูน ก็เจาะได้ช้าลงด้วยที่ปูนมีความแข็งมากขึ้น

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการรับน้ำหนักของพื้นอาคาร (คัดลอกจาก www.civilclub.net)

ประเภทการใช้อาคาร น้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำ (กก.ตร.ม.)
. พื้นกันสาดหรือพื้นหลังคาคอนกรีต 100
. ที่พักอาศัย โรงเรียนอนุบาล ห้องน้ำ-ห้องส้วม 150
. ห้องแถว ตึกแถว อาคารชุด หอพัก โรงแรม 200
. สำนักงาน ธนาคาร 250

 

Read More

ความรู้งานก่อสร้าง “เมทัลชีท PU”

สาระน่ารู้ : เมทัลชีท PU คืออะไร?

แผ่นเมทัลชีท PU หรือหลังคาเมทัลชีทพียูโฟมมีกี่ประเภท ควรเลือกใช้อย่างไร

หากอยากให้บ้านมีความรู้สึกที่เย็นสบายนั้นมีหลายวิธี เช่น การปลูกต้นไม้ใหญ่รอบๆ บ้าน การติดตั้งหลังคากันสาด และอีกวิธีหนึ่งที่เป็นวิธีกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ดี คือการติดฉนวนกันความร้อน

ฉนวนกันความร้อน มี 2 ประเภท คือ

  • แบบแผ่น  สามารถติดตั้งได้ง่ายอย่างปูบนฝ้าเพดาน ติดในโครงผนังเบา ติดบนแป ลักษณะของฉนวนกันร้อนประเภทนี้จะจำหน่ายเป็นม้วน มีความหนาและค่ากันความร้อนแตกต่างกัน ขนาดความยาวต่อม้วนและราคาจะแตกต่างกันตามวัสดุด้วย
  • แบบพ่น เป็นฉนวนที่ใช้พ่นบนวัสดุอีกชนิดหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่กันความร้อน เช่น แผ่นหลังคาบ้าน ฝ้าเพดาน และผนังห้อง อายุการใช้งานยาวนาน ได้แก่

– เซรามิคสะท้อนความร้อน (Ceramic Coating) เป็นแผ่นฟิล์มที่ได้จากอนุภาคเซรามิคมาผสมกับอะคริลิกและส่วนผสมอื่นๆ สำหรับพ่นรอบๆ อาคาร ทั้งภายในและภายนอก ส่วนใหญ่จะนิยมเคลือบหลังคาและดาดฟ้า กระเบื้องมุงหลังคาบางยี่ห้อก็เคลือบ Ceramic Coating มาเรียบร้อย ในขณะเดียวกันสีทาภายนอกก็ยังเพิ่มฉนวนกันร้อนชนิดนี้ผสมเข้าไปในเนื้อสีด้วย ช่วยกันร้อนได้อีกเช่นกัน นอกจากจะกันร้อนได้แล้ว Ceramic Coating ยังกันน้ำซึมได้อีกด้วย

– เยื่อกระดาษ (Cellulose) ฉนวนกันร้อนเยื่อกระดาษมีคุณสมบัติควบคุมอุณหภูมิด้วยเส้นใยที่ผสมกันเป็นปุยนุ่น น้ำหนักเบา ป้องกันเสียงเข้าออก ไม่ลามไฟ และยังมีคุณสมบัติเฉพาะคือไม่เป็นแหล่งอาหารของหนู แมลงสาบ ปลวก ฉีดได้ในหลายพื้นผิวทั้ง เหล็ก ไม้ เหมาะสำหรับติดตั้งบริเวณใต้หลังคา โพรงหลังคา และฝ้าเพดาน

การติดฉนวนกันความร้อนในภายหลังนั้นมีค่าใช้จ่ายทั้งตัวฉนวนและค่าแรงช่าง รวมทั้งพบเจอบริเวณที่ทำการติดฉนวนได้ยาก หากเลือกวัสดุที่ทำฉนวนกันความร้อนพร้อมตั้งแต่ต้นจากโรงงานเลยทำให้ประหยัดงบได้และลดปัญหากวนใจที่อาจจะตามมา
 
ปัจจุบันเมทัลชีท มีราคาถูก สามารถนำมามุงหลังคาหรือทำผนังก็ได้ แผ่นเมทัลชีทที่บุฉนวนกันความร้อน มี 3 ประเภทคือ
1. Metal sheet PE
    2. Metal sheet EPS foam
    3. Metalsheet PU (
เมทัลชีท PU)
เป็นหลังคาเหล็กบุฉนวนพียูโฟม (PU Foam + Metal Sheet) เพื่อป้องกันความร้อนสูง ทำให้บ้านเงียบ เย็น ไม่ร้อน มีความหนา 1 นิ้วขึ้นไป (ความหนาเมทัลชีท PU 1 นิ้วและ 2นิ้ว การกันความร้อนจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่เราต้องการ) เหมาะสำหรับใช้ภายในอาคารที่มีการใช้เครื่องปรับอากาศ หลังคาเหล็กเมทัลชีทติดพียูโฟม ผลิตจากหลังคาเหล็กรีดลอน นำมาผ่านเครื่องฉีดพ่นพียูโฟม (PU Foam) ใต้ท้องแผ่นหลังคาเหล็กเมทัลชีท จึงได้แผ่นเมทัลชีทบุฉนวนพียูโฟมที่เป็นแผ่นสำเร็จรูปพร้อมใช้งาน สามารถนำเมทัลชีท PU (Metalsheet PU) ที่บุฉนวนมาใต้แผ่นแล้วนี้ ขึ้นไปมุงบนหลังคาได้ไปพร้อมกันในครั้งเดียว  

     3.1. พียูโฟม + อลูมิเนียมฟอยล์ (PU Foam + Aluminium Foil) อลูมิเนียมฟอยล์เป็นฟอยล์ปิดทับพียูโฟมกับเมทัลชีท มีความทนทานเสริมด้วยเส้นใย Fiberglass ทำให้มีความเหนียวและยืดหยุ่น ไม่ขาดง่าย สามารถสะท้อนแสงสว่างทำให้เกิดความสว่างภายในตัวบ้าน อาคารได้ดี

     3.2. พียูโฟม + พีวีซีดำ (PU Foam + PVC Sheet) มีทั้งสีดำและสีขาว มีลวดลายเพื่อเสริมความแข็งแรงของแผ่น PVC มีลักษณะคล้ายวอลเปเปอร์ เหมาะสำหรับใช้ในตัวบ้าน อาคาร ที่ไม่โดนรังสี UV จากแดด เพราะหากแผ่น PVC Sheet โดนแดดจะทำให้มีสีเหลือง กรอบและแตกง่าย

     3.3. หลังคาเมทัลชีทแซนวิซ (PU Sandwich)

 

ดังนั้นปัจจุบันฉนวนที่เหมาะกับหลังคาเมทัลชีทก็คือ ฉนวนพียูโฟม (Polyurethane Foam) เพราะฉนวนพียูโฟมมีคุณสมบัติดีทั้งในเรื่องกันความร้อนเป็นอย่างดี และในเรื่องของการกันเสียงที่ดีเยี่ยม ซึ่งจะช่วยในเรื่องของกันความร้อนและเสียงไม่ให้ผ่านเข้าสู่ตัวบ้าน จึงทำให้บ้านเย็นและเงียบ ด้วยความที่พียูโฟมมีคุณสมบัติเป็นกาวในตัว จึงทำให้ยึดเกาะติดกับหลังคาได้เป็นอย่างดี ไม่มีปัญหาการหลุดร่วงเหมือนฉนวน PE Foam ที่ใช้กาวยางเป็นตัวประสาน ซึ่งกาวเมื่อโดนอุณหภูมิความร้อนของหลังคาเมทัลชีท ซึ่งมีอุณหภูมิสูงจะทำให้อายุการใช้งานของกาวเสื่อม และหลุด ในระยะเวลาประมาณ 3-5 ปี และถ้าเทียบในเรื่องของความหนาที่เท่ากันระหว่างฉนวนพียูโฟม (PU Foam) และพีอี (PE Foam) ในเรื่องของราคา พียูโฟมจะถูกกว่า อายุการใช้งานเท่ากับอายุของหลังคาและกันร้อนกันเสียงดีที่สุด เป็นฉนวนที่เหมาะกับหลังคาเมทัลชีทมากที่สุด

 

ในการเลือกซื้อแผ่นเมทัลชีทบุฉนวนในตัวควรให้พิจารณาปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นราคา การกันความร้อน (ฉนวนโฟม PS กันความร้อนได้มากกว่าฉนวนโฟม PU ส่วนฉนวนโฟม PE จะกันความร้อนได้น้อยกว่าฉนวนโฟม PU

ส่วนในเรื่องการลามไฟ ฉนวนโฟม PE เมื่อโดนไฟ จะเกิดเป็นลูกไฟหยดลงเบื้องล่าง ในขณะที่ฉนวนโฟม PU และ PS ที่ผสมสารกันไฟจะไม่ลามไฟ (แต่ฉนวนโฟม PU จะเกิดสารพิษมากกว่า และควรพิจารณาวัสดุที่ประกบข้างใต้ด้วยว่าลามไฟหรือไม่)

 

Read More

ความรู้งานก่อสร้าง “ประเภทของหลอดไฟ”

สาระน่ารู้ :

แสงสว่างเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตประจำวัน ดังนั้นบ้านที่มีแสงสว่างจึงต้องมีประเภทของหลอดไฟชนิดต่างๆที่เหมาะสมกับการใช้งานภายในบ้าน วันนี้สาระน่ารู้จึงมีประเภทของหลอดไฟชนิดต่างๆมาเป็นความรู้ให้กับผู้บริโภคได้ศึกษากันครับ

 

  • หลอดไส้ หลอดไฟในยุคแรก ๆ หลอดไส้ทำมาจากทังสเตน ปล่อยพลังงานความร้อนสูง แต่ให้การส่องสว่างต่ำ จึงไม่ค่อยประหยัดไฟ อายุการใช้งานสั้น

 

  • หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือที่เรามักเรียกกันว่าหลอดนีออน ถูกนำมาใช้แทนหลอดไส้ ให้แสงสว่างมากกว่าหลอดไส้ และอายุการใช้งานมากกว่า 7-8 เท่า แต่ต้องใช้คู่กับบัลลัสต์และสตาร์ทเตอร์

 

  • หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดตะเกียบ การใช้งานคล้ายกับหลอดฟลูออเรสเซนต์ มีแบบที่มีบัลลัสต์ในตัว ขนาดเล็ก กะทัดรัด ประสิทธิภาพในการส่องสว่างมากกว่า อายุการใช้งานยาวนานมากขึ้น

 

 

  • หลอดฮาโลเจน พัฒนามาจากหลอดไส้ให้ดีขึ้น ใช้ก๊าซฮาโลเจนบรรจุภายใน ทำให้ทนทานมากขึ้น สว่างมากขึ้น และค่าการให้แสงถูกต้อง ไม่เพี้ยน จึงนิยมนำมาใช้กับสตูดิโอถ่ายภาพ หรือการแสดงสินค้า แต่ก็นิยมนำมาใช้ในบ้านบริเวณที่เป็นมุมอับ หรือห้องทำงาน

  • หลอด LED ปัจจุบันเป็นที่นิยม ให้พลังงานต่ำ ประสิทธิภาพการส่องสว่างสูงมาก ไม่มีแสง UV ไม่กระพริบขณะเปล่งแสง สามารถเปิด-ปิดได้อย่างรวดเร็ว เป็นหลอดไฟที่ประหยัดพลังงานมากกว่าหลอดไฟประเภทอื่นๆ

โทนสีของแสงหลอดไฟ

  1. สีวอร์มไวท์ (Warm white) ให้แสงสีแดงออกโทนส้ม เป็นโทนสีร้อน ให้ความรู้สึกอบอุ่น ผ่อนคลาย เหมาะกับห้องนอน ห้องรับแขก แต่แสง Warm White อาจทำให้สีที่สะท้อนกลับมาผิดเพี้ยนไม่ตรงกับความเป็นจริงได้
  2. สีคูลไวท์ (Cool white) ให้แสงสีในทางสีขาว โทนสีเย็นสบายตา ค่อนข้างสว่างกว่าเมื่อเทียบกับสีวอร์มไวท์
  3. สีเดย์ไลท์ (Day light) ให้แสงสีโทนขาวอมฟ้า คล้ายแสงธรรมชาติตอนกลางวัน ให้ค่าสีที่สมจริง จึงไม่ทำให้สีของวัตถุที่สะท้อนกลับมาผิดเพี้ยน หรือหลอกตา แสง Daylight สามารถใช้ได้กับทุกที่ที่ต้องการความสว่างสดใส

Read More

ความรู้งานก่อสร้าง “ประเภทของกระเบื้อง”

สาระน่ารู้ : ประเภทของกระเบื้อง

6 ประเภทกระเบื้องที่คุณต้องรู้ก่อน “สร้างบ้าน”

กระเบื้องที่คนนิยมใช้ปูพื้นหรือผนังจะมีอยู่ 6 ประเภท ได้แก่ กระเบื้องดินเผา กระเบื้องเซรามิค กระเบื้องพอร์ซเลน กระเบื้องโมเสค กระเบื้องแก้ว และกระเบื้องหินอ่อน  ในบ้านหนึ่งหลังคุณอาจเห็นได้ว่ามีการใช้กระเบื้องหลายๆ ชนิดปนอยู่ด้วยกัน ชนิดของกระเบื้องปูพื้นแต่ละแบบก็จะมีจุดเด่นและมีความเหมาะสมในการนำไปใช้งานที่แตกต่าง เราจะอธิบายเพิ่มเติมไว้ด้านล่าง

กระเบื้องดินเผา

นับว่าเป็นกระเบื้องที่มีการนำมาใช้งานยาวนานที่สุด ใช้กันมาตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน กระเบื้องทำมาจากดินเหนียวที่นำไปผ่านการเผา เนื้อกระเบื้องมีความด้าน ไม่ค่อยลื่น เก็บความชื้นได้ดี ไม่อมความร้อน พื้นที่ที่ปูด้วยกระเบื้องดินเผาจะมีความเย็นสบาย เป็นกระเบื้องที่มีความคลาสสิค สวยงาม มองแล้วสื่อถึงความเป็นธรรมชาติได้ดี และมีราคาถูก แต่ไม่ค่อยทนทาน ผุกร่อนง่าย ทำความสะอาดยาก มักเจอปัญหาตะไคร่มาเกาะ ควรนำไปปูผนังหรือบริเวณที่ไม่โดนน้ำจะช่วยยืดอายุการใช้งานได้นานขึ้น

 

 

กระเบื้องเซรามิค

เป็นกระเบื้องที่คนส่วนมากนิยมนำไปปูพื้น เนื่องจากมีสีและลวดลายให้เลือกเยอะ นำไปตกแต่งได้หลากหลายสไตล์ มีราคาถูกและหาซื้อได้ง่าย เนื้อกระเบื้องแน่นและมีความแข็งแกร่งค่อนข้างสูง ค่อนข้างทนทานในระดับหนึ่ง สามารถนำไปปูพื้นหรือผนังได้ ระวังเรื่องถ้านำไปใช้งานผิดประเภท ไม่แนะนำให้เอากระเบื้องปูผนังไปปูพื้น เพราะจะมีปัญหาเรื่องการรับน้ำหนัก กระเบื้องอาจพังเสียหายเร็ว นอกจากนี้กระเบื้องเซรามิคยังดูดซึมน้ำได้ดี เวลาเปียกน้ำ เนื้อกระเบื้องจะมีความลื่น ไม่ควรเอาไปปูพื้นห้องน้ำหรือบริเวณที่โดนน้ำ

 

 

กระเบื้องพอร์ซเลน

เป็นกระเบื้องที่มีส่วนผสมของดินขาวและแร่อื่นๆ ผ่านกระบวนการเผาที่อุณหภูมิสูงจนกระเบื้องเป็นเนื้อเดียวกันทั้งแผ่น มีความแข็งแรง ไม่แตกง่าย ทนต่อการขูดขีด และมีรูพรุนน้อย กระเบื้องพอร์ซเลนมีค่าอัตราการดูดซึมน้ำต่ำแค่เพียง 0.05% จึงง่ายต่อการทำความสะอาด ไม่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค สามารถนำไปติดตั้งในพื้นที่เปียกหรือภายนอกตัวอาคารได้ และนิยมนำไปปูพื้นในบริเวณที่มีการใช้งานบ่อย เช่น ทางเดิน ครอบคลุมการใช้งานทั้งภายในและภายนอกอาคาร มีหลากหลายขนาดและลวดลายให้เลือ

 

 

กระเบื้องโมเสค

เป็นกระเบื้องที่มีขนาดเล็กที่สุด มีลักษณะเป็นกระเบื้องชิ้นเล็กๆ ที่นำมาเรียงต่อกันบนตาข่าย เนื้อกระเบื้องอาจเป็นแก้ว หินหรือเซรามิค มีสีสันสดใส มันวาว สีไม่ตกหรือซีดง่าย สามารถนำไปตกแต่งตามผนังหรือพื้นที่ต้องการ ดึงดูดสายตา สร้างไอเดียที่แปลกใหม่ด้วย  แบบต่างๆ และเหมาะนำไปติดบนพื้นที่ขนาดเล็กและโค้งมน เช่น ซุ้มประตูทางเข้า

กระเบื้องโมเสคมีคุณสมบัติระบายน้ำได้ดีจึงนิยมนำไปปูพื้นสระว่ายน้ำ ไม่เหมาะนำไปปูพื้นในบริเวณที่กว้างๆ เพราะมีขนาดเล็กอาจต้องใช้กระเบื้องจำนวนมาก แถมมีราคาสูง ค่าใช้จ่ายจะสูงเกินไป และเป็นกระเบื้องที่ทำความสะอาดยากที่สุด เพราะมีร่องระหว่างรอยต่อกระเบื้องเยอะ

 

 

กระเบื้องแก้ว

กระเบื้องแก้วเกิดจากการนำชิ้นแก้วมาขึ้นรูปเป็นแผ่นกระเบื้อง มีลักษณะมันวาว โปร่งแสง สีสันและลวดลายมีความทนทานกว่ากระเบื้องชนิดอื่น ลักษณะอาจคล้ายกระเบื้องโมเสคแต่จะมีความมันวาวมากกว่า รับน้ำหนักได้ไม่เยอะ ไม่ควรนำไปปูพื้น เหมาะกับการนำไปใช้ตกแต่งหรือใช้ปูในพื้นที่แคบๆ ไม่นิยมปูในพื้นที่กว้างๆ เพราะกระเบื้องชิ้นเล็กปูยาก และราคาค่อนข้างสูง

 

 

แผ่นหินอ่อน

หินอ่อนเป็นหินที่มีเนื้อแข็ง เกิดจากธรรมชาติ ไม่กักเก็บความร้อน จุดเด่นคือมีความเย็นอยู่ในตัว เมื่อนำมาตกแต่งจะให้ความรู้สึกหรูหรา ด้วยลักษณะที่มีความมันวาว ลวดลายเป็นลายเส้นดูพริ้วไหว หลายคนนิยมนำไปปูพื้นในโรงแรมหรืออาคารที่มีสถาปัตยกรรมที่เน้นความโอ่อ่า สง่างาม มีระดับ สร้างความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ แต่ราคาจะสูงกว่ากระเบื้องประเภทอื่นๆ มีน้ำหนักเยอะ การดูรักษาค่อนข้างยุ่งยาก ต้องระวังเรื่องรอยขีดข่วน แถมเกิดรอยด่างได้ง่าย ไม่ทนต่อกรด ไม่ทนต่อด่าง

 

Read More

ความรู้งานก่อสร้าง “การซ่อมแซมสีผนังที่ชำรุด”

สาระน่ารู้ : วิธีการซ่อมแซมสีผนังที่ชำรุด

การซ่อมแซมสีที่ชำรุดตามผนังหรือตัวบ้านนั้นผู้รับเหมาทาสีหรือซ่อมแซมสีนั้น จะมีขั้นตอนและวิธีกการซ่อมแซมที่ถูกขั้นตอนและได้ผลงานออกมาที่ดี โดยมีข้อแนะนำดังนี้

สาเหตุปัญหาที่ทำให้เกิดสีผนังลอก

สาเหตุปัญหาที่ทำให้สีผนังลอกนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ช่างทาสีมีฝีมือไม่ดีพอ การเลือกสีที่มีคุณภาพไม่เหมาะกับการใช้งาน การเตรียมหน้างานก่อนทาสีไม่ดี รวมถึงการทาสีที่ผิดวิธี นอกจากนั้นยังมีเรื่องของปัจจัยต่าง ๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น สภาพอากาศ ความร้อน และความชื้นทั้งในและนอกผนังนั่นเอง

วิธีซ่อมสีผนังลอกให้กลับมาเหมือนใหม่

ในการซ่อมแซมผนังที่มีปัญหาเรื่องสีลอกให้กลับมาสวยเหมือนทาใหม่นั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่รู้วิธีซ่อมสีผนังลอกที่ถูกต้อง พร้อมเลือกใช้วัสดุสีทาบ้านที่มีคุณสมบัติในการช่วยเรื่องนี้โดยตรง ก็จะสามารถขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมก่อนเริ่มซ่อมสีผนังลอก

  • เกรียงปากแบน ไขควงปากแบน  ค้อน  กระดาษทรายเนื้อละเอียด  ผ้าปูพื้น  เทปสำหรับงานทาสี
  • ผ้าหรือฟองน้ำ  แว่น หน้ากาก N95 และถุงมือ

ขั้นตอนซ่อมสีผนังลอกที่ถูกต้อง

1. เตรียมตัวและเตรียมพื้นที่บริเวณรอบ ๆ

เริ่มจากการสวมใส่อุปกรณ์ด้านความปลอดภัย ได้แก่ แว่น หน้ากาก N95 และถุงมือ เพื่อป้องกันเศษผงต่าง ๆ เข้าตาและจมูก รวมถึงป้องกันการโดนบาด การเตรียมพื้นที่มีจุดประสงค์หลักคือเพื่อป้องกันไม่ให้พื้นที่อื่นเปรอะเปื้อนไปด้วย จึงต้องทำอย่างพิถีพิถันมากถ้าเป็นในบ้าน ย้ายเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ และพรมออกจากพื้นที่ ปูพื้นด้วยผ้าผืนใหญ่และหนา ปิดขอบประตูและหน้าต่างด้วยเทปสำหรับงานทาสี

2. เตรียมพื้นผิวที่ต้องการซ่อมแซม

ตรวจสอบผนังให้ทั่วว่ามีรอยรั่วหรือไม่ เพื่อกำจัดความชื้นจากพื้นที่ ลอกคราบสีเก่า โดยเริ่มจากใช้เกรียงขูดสีเก่าออกให้ได้มากที่สุด หรือใช้ค้อนกับไขควงปากแบน ในการกะเทาะสีเก่าออกให้หมดก็ได้เช่นกัน จากนั้นให้ทำการเจียด้วยเครื่องขัดหน้าผิวคอนกรีต เพื่อเป็นการเปิดหน้าผิว

 

3. ซ่อมแซมผนัง

หากผนังมีรอยแตก รอยร้าว ผิวผนังขรุขระ หรือมีรู ใช้ค้อนหรือไขควงแซะเศษผนังและสีที่ลอกออก ปิดรูและรอยแตกร้าวด้วยสีโป๊วผนัง เป็นอะคริลิกอุดโป๊วแบบยืดหยุ่นสีขาวใช้สำหรับอุดโป๊วรอยแตกร้าวขนาดใหญ่ 2-10 มม. สามารถใช้อุดโป๊วร่องที่มีการขยับตัวได้ เช่น วงกบประตู หน้าต่าง ซ่อมแซมรอยแตกร้าวของผนังปูน ฉาบ พื้นคอนกรีต กระเบื้อง และไม้ ได้ดี หลังจากนั้นอุดโป๊วเก็บตามบริเวณรอยแตกลายงา ใช้กระดาษทรายขัดผิวให้เรียบเสมอกัน แล้วทิ้งให้ผนังแห้งสนิท

 

4. ทำความสะอาดให้เรียบร้อย

วิธีทำความสะอาดผนังบ้าน หากเป็นผนังภายในบ้านให้นำผ้าหรือฟองน้ำชุบน้ำเช็ดเศษผงออก หากเป็นผนังภายนอกที่มีพื้นที่กว้างให้ใช้สายยางล้างบนผนังได้เลย แต่ต้องทิ้งไว้ 2-3 วันเพื่อให้ผนังแห้งสนิทก่อนทาสี

 

5. ทารองพื้น

เมื่อผนังเรียบ แห้งสนิท และไร้สิ่งสกปรกแล้ว ให้ใช้แปรงหรือถ้าพื้นที่กว้างก็ใช้ลูกกลิ้งทาสีในการทาสีรองพื้น โดยให้เลือกชนิดที่เหมาะกับพื้นผิว

 

  • สีรองพื้นปูนอเนกประสงค์ Perfex Primer  ด้วยโมเลกุลที่มีความละเอียดสูง สามารถแทรกซึมเข้าพื้นผิวได้ง่าย ช่วยให้การยึดเกาะดีขึ้น และยังช่วยปรับสภาะด่างบนผิวปูนให้เป็นกลาง ป้องกันไม่ให้คราบเกลือซึมออกมาทำลายผิวสีทับหน้า ป้องกันเชื้อราและตะไคร่น้ำได้ดี เหมาะสำหรับใช้ทาเป็นรองพื้นบนพื้นผิวปูนทุกชนิด รวมถึงกระเบื้องแผ่นเรียบต่าง ๆโดยเฉพาะปูนที่เพิ่งฉาบเสร็จใหม่ ๆ

 

คำแนะนำก่อนจะเริ่มทารองพื้น เราขอแนะนำว่าให้แปะเทปสำหรับงานทาสีเพื่อกันพื้นที่ที่ไม่อยากให้เลอะ ทั้งเพดานและขอบประตูหน้าต่าง การทาสีสำหรับผนังที่มีพื้นที่กว้าง ควรทาสีจากด้านบนลงด้านล่าง เพื่อป้องกันไม่ให้สีเลอะบริเวณที่ทาไปแล้วนั่นเอง หลังจากนั้นรอให้แห้ง

 

6. เริ่มทาสีผนัง

เมื่อสีรองพื้นแห้งแล้ว ให้นำสีน้ำอะคริลิกที่ต้องทาทับหน้า มาผสมน้ำ 10% ของปริมาณสี แล้วทาลงบนผนังจำนวน 2 เที่ยว ห่างกันเที่ยวละ 2 ชั่วโมง โดยการเลือกสีต้องเหมาะกับพื้นที่การใช้งาน รวมถึงวัสดุของพื้นผิวที่จะทา โดยทั่วไปสีทาผนังประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ สี สารยึดเกาะ ตัวทำละลายเพื่อกันไม่ให้สีจับตัวเป็นก้อน และสารเติมแต่งเพื่อคุณสมบัติพิเศษต่าง ๆ

ประเภทของสีและการเลือกใช้แบ่งหลัก ๆ ได้ดังนี้

  • สีน้ำอะครีลิคหรือสีน้ำพลาสติก  –  ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย เหมาะกับพื้นผิวปูน ซีเมนต์ และคอนกรีต
  • สีน้ำมัน  –  ใช้น้ำมันหรือทินเนอร์เป็นตัวทำละลายเหมาะกับพื้นผิวโลหะและไม้ สีทาผนังภายนอกต้องทนต่อสภาพอากาศ ทั้งแดด ฝน ลม ความชื้น และความร้อน ป้องกันเชื้อราและตะไคร่น้ำ กันน้ำซึมได้ดี และสามารถยืดหดตามโครงสร้างได้

  • สีทาผนังภายใน  –  ควรเน้นคุณสมบัติที่ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อยู่อาศัย เช่น ป้องกันเชื้อราและแบคทีเรีย ฝุ่นไม่เกาะ ทำความสะอาดง่าย ไม่มีกลิ่นฉุน รวมถึงสวยงามด้วย

ก่อนทาสีเราขอแนะนำให้อ่านวิธีใช้งาน คำแนะนำ และคำเตือนข้างกระป๋องสีให้เข้าใจก่อนเริ่มลงมือเพื่อให้มั่นใจว่าคุณทาสีถูกวิธีจะได้ไม่เกิดปัญหาภายหลัง เมื่อทาสีเสร็จทิ้งไว้จนแห้งสนิทก่อนจะใช้งานในพื้นที่

 

ซ่อมสีผนังช่วยดูแลบ้านและดีต่อผู้อยู่อาศัย

วิธีกันผนังชื้นและวิธีซ่อมสีผนังลอกไม่เพียงช่วยทำให้บ้านดูดีและช่วยแก้ปัญหาบ้านเท่านั้น แต่ยังช่วยดูแลสุขภาพคนในบ้านด้วย บ้านไร้รา ไม่มีฝุ่น ดีต่อระบบทางเดินหายใจของผู้อาศัยเช่นกัน

 

นอกจากซ่อมสีผนังให้ถูกต้องตามหลักแล้ว การเลือกสีก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยปกปิดรอยแตกลายงาได้เป็นอย่างดี เริ่มตั้งแต่การเลือกสีรองพื้น ไปจนถึงสีทับหน้า ควรจะเลือกสีที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตัวบ้าน  สามารถเช็ดล้างทำความสะอาดง่าย และยังช่วยยืดอายุการใช้งานของสีกำแพงบ้านได้เป็นอย่างดี เพื่อให้บ้านของเราน่าอยู่ และสวยเหมือนใหม่อยู่เสมอ

 

Read More

ความรู้งานก่อสร้าง : ขนาดของท่อประปา

สาระน่ารู้ : ท่อปะปาขนาดต่างๆและการใช้งานที่เหมาะสม

 

สาระน่ารู้วันนี้ขอเสนอเกี่ยวกับเรื่องราวของท่อ PVC ขนาดต่างๆและความเหมาะสมกับการใช้งานครับ

ขนาดท่อพีวีซีในการเลือกใช้งาน

  • ½” (สี่หุน) หรือ 18 มม.    –    เส้นผ่าศูนย์กลาง 22 มม.
  • ¾” (หกหุน) หรือ 20 มม.  –    เส้นผ่าศูนย์กลาง 26 มม.
  • 1” หรือ 25 มม.   –    เส้นผ่าศูนย์กลาง 34 มม.
  • 1¼” หรือ 35 มม.   –    เส้นผ่าศูนย์กลาง 42 มม.
  • 1½” หรือ 40 มม.   –    เส้นผ่าศูนย์กลาง 48 มม.
  • 2” หรือ 55 มม.   –    เส้นผ่าศูนย์กลาง 60 มม.
  • 2½” หรือ 65 มม.   –    เส้นผ่าศูนย์กลาง 76 มม.
  • 3” หรือ 80 มม.   –    เส้นผ่าศูนย์กลาง 89 มม.
  • 4” หรือ 100 มม.    –    เส้นผ่าศูนย์กลาง 114 มม.
  • 5” หรือ 125 มม.   –     เส้นผ่าศูนย์กลาง 140 มม.
  • 6” หรือ 150 มม.    –    เส้นผ่าศูนย์กลาง 165 มม.-ok
  • 8” หรือ 200 มม.   –     เส้นผ่าศูนย์กลาง 216 มม.
  • 10” หรือ 250 มม.   –    เส้นผ่าศูนย์กลาง 267 มม./ 12″300 มม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 318 มม.

 

ท่อ PVC ที่ดีเป็นยังไง

ท่อ PVC ที่ดีและมีคุณภาพ ได้รับมาตรฐาน มอก.จะต้องมีความทนทานและแข็งแรง โดยการใช้งานจะต้องใช้งานได้มากถึง 60ปีขึ้นไป มีขนาดตั้งแต่ 1/2นิ้ว จนถึง 24นิ้ว  สำหรับใช้เป็นท่อน้ำดื่ม ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก.17-2532 ท่อชนิดนี้เป็นที่นิยม ใช้งานประปาสุขาภิบาล ภายในอาคาร เช่น ใช้เป็นท่อน้ำประปา หรือ ใช้กับปั๊มน้ำ มีการระบุมาตรฐานความดันหรือชั้นคุณภาพ ได้แก่ 5, 8.5, 13.5

 

ขนาดในการเลือกใช้

  • ชนิดประปา ชนิดปลายเรียบ,บานหัว 1/2 – 24 นิ้ว สำหรับประปา
  • ชนิดเซาะร่อง 2 – 8 นิ้ว สำหรับงานน้ำบาดาล
  • ชนิดแหวนยาง 2 – 16 นิ้ว สำหรับใช้ในระบบประปาของกรมชลประทานและระบบประปาหมู่บ้าน

 

ท่อพีวีซีแต่ละขนาดจะมีสามชั้นความดัน (Class) ซึ่งชั้นความดันจะตัววัดว่าท่อรับแรงดันน้ำ (Working Pressure) ได้มากแค่ไหน ชั้นความดันของท่อจะมีดังนี้

 

1.ท่อชั้น 5 รับความดันได้ 5 กก.ต่อตารางเซนติเมตร หรือ 5Bar หรือ 0.5 MPa หรือ 72.5 Psi เหมาะสำหรับงานที่มีแรงดันน้อย เช่นทำการเกษตร ท่อเกษตร หรือท่อทิ้งน้ำทิ้งในอาคาร

 

2.ท่อชั้น 8.5 รับความดันได้ 8.5 กก.ต่อตารางเซนติเมตร หรือ 8.5Bar หรือ 0.85 MPa หรือ 123 Psi เหมาะกับงานสุขาภิบาล และการเกษตร

 

3.ท่อชั้น 13.5 รับความดันได้ 13.5 กก.ต่อตารางเซนติเมตร หรือ 13.5Bar หรือ 1.35 MPa หรือ 195 Psi เหมาะสำหรับท่อที่มีแรงดันสูง น้ำดีภายในหรือภายนอกอาคาร ส่วนมากจะใช้เป็นท่อหลัก ท่อเมน หรือท่อประธาน

 

 

หวังว่าข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในเบื้องต้นกับผู้ใช้งานและผู้รับเหมา หรือช่างประปาที่กำลังมองหาท่อปะปาและคำนวณท่อให้เหมาะกับการใช้งานนะครับ

 

 

 

 

Read More

ความรู้งานก่อสร้าง “ปัญหาน้ำรั่วซึมขอบหน้าต่าง”

สาระน่ารู้ : ปัญหาน้ำรั่วซึมขอบหน้าต่าง

 

ปัญหาน้ำรั่วซึมขอบหน้าต่าง เกิดจากอะไรบ้าง ?

  1. วัสดุที่ใช้ในการติดตั้งและอุดรอยต่อเกิดการเสื่อมสภาพ
  2. ผนังตรงบริเวณมุมขอบหน้าต่างร้าวแนวเฉียงจนทำให้น้ำรั่วซึม
  3. ช่องระบายน้ำของขอบอลูมิเนียมหน้าต่างเกิดอุดตัน
  4. การติดตั้งหน้าต่างอลูมิเนียมที่ไม่พอดี ไม่เข้าฉาก หรือไม่ได้มุม 45 องศา
  5. ผนังขอบหน้าต่างแตกร้าว

 

แก้ปัญหาโดยอุดรอยซ่อมน้ำรั่วซึมด้วยซิลิโคน หรือ ยาแนว

 

ซิลิโคนยาแนว (Silicone Sealant) มีความยืดหยุ่นสูง แห้งตัวได้ที่อุณหภูมิห้อง สามารถยึดเกาะกับพื้นผิวและวัสดุหลายประเภท  เหมาะกับงานอุดรอยรั่ว รอยร้าว ช่วยป้องกันการรั่วซึมซึม แต่ไม่เหมาะกับงานแนวกระจกอาคารสูง

ก่อนการอุดรอยรั่วซึม จะต้องทำการหาสาเหตุว่าจุดที่รั่วซึมมาจากผนังภายในหรือภายนอกตัวบ้าน เพื่อที่จะได้ทำการอุดรอยรั่วได้ตรงจุด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วก็มักจะอุดรอยรั่วซึมจากบริเวณผนังนอกตัวบ้าน การอุดรอยน้ำรั่วซึมจากน้ำฝน สามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยวิธีดังต่อไปนี้

 

ขั้นตอนทำความสะอาดพื้นผิวโดยรอบให้สะอาด

  • ใช้เกรียงหรือมีดคัตเตอร์ ขูดเอาซิลิโคนเดิมที่เสื่อมสภาพออก
  • ใช้เทปกาวแปะ เพื่อเป็นแนวกั้นไม่ให้ซิลิโคนที่จะยิงเลอะส่วนอื่นๆ
  • ตัดปลายหัวฉีดให้มีขนาดเหมาะสมกับรอยต่อ
  • ใส่หลอดในปืนยิงซิลิโคน ถือปืนยิงทำมุมประมาณ 45 องศากับร่อง
  • สามารถใช้เกรียงในการช่วยปาด หรือใช้นิ้วมือกดซิลิโคนให้แน่นขึ้นได้ แต่ควรใส่ถุงมือป้องกัน
  • ลอกเทปกาวออก และปล่อยให้ซิลิโคนแห้งสนิท ใช้เวลา 24-48 ชั่วโมง เพียงเท่านี้ก็สามารถแก้ปัญหาน้ำรั่วซึมแบบง่ายๆได้ด้วยตัวเอง
Read More

ความรู้งานก่อสร้าง “กันซึมดาดฟ้า”

สาระน่ารู้ :

สิ่งที่เราอาจคาดไม่ถึง เกี่ยวกับสาเหตุของดาดฟ้ารั่วซึม

1. ดาดฟ้ารั่วซึมเพราะมีรอยแตกร้าว

รอยแตกร้าวบนพื้นผิวดาดฟ้า สาเหตุเกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ทั้งจากแสงแดด ความเย็น ฝน ปัจจัยทั้งหมดนี้ทำให้พื้นผิวคอนกรีตดาดฟ้าเกิดการยืดและหดตัวจนเกิดเป็นรอยแตกร้าว

2. ขอบมุมพื้นและผนังดาดฟ้าเกิดรอยแตกร้าว แต่ไม่ได้รับการแก้ไข

รอยต่อตามขอบมุมบนดาดฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รอยต่อระหว่างพื้นกับกำแพง ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเสี่ยงที่ทำให้ดาดฟ้าเกิดการรั่วซึม หากปล่อยไว้นาน ไม่จัดการกับรอยต่ออย่างเหมาะสม หรือไม่มีการติดตตั้งระบบ กันซึมดาดฟ้า รอยแตกร้าวต่างๆ จะยิ่งขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากไม่ได้รับการปกป้อง เมื่อฝนตก น้ำและความชื้นจะสะสมอยู่ตามขอบมุมรอยแตกร้าว

3. ดาดฟ้ารั่วซึมเนื่องจากมีการติดตั้งวัสดุอื่นบนดาดฟ้า ส่งผลให้เกิดรอยแตกร้าว

การติดตั้งสิ่งของต่างๆ เช่น แทงก์น้ำ หรือการต่อเติมดาดฟ้า ถือเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ดาดฟ้าเกิดการแตกร้าวรั่วซึม การทำระบบ กันซึมดาดฟ้า ที่มีความยืดหยุ่นสูง จะช่วยลดความเสี่ยงที่พื้นผิวจะฉีกขาดจนเกิดเป็นรอยให้น้ำเข้าได้

4. ดาดฟ้ารั่วซึม เพราะช่องระบายน้ำอุดตัน

สาเหตุนี้เกิดขึ้นได้ง่ายที่สุด และแก้ไขได้ง่ายที่สุด แต่เราก็มักจะปล่อยปละละเลยมากที่สุดอีกเช่นกัน ดังนั้น หมั่นขึ้นไปตรวจสอบดาดฟ้าอย่าให้มีเศษใบไม้กิ่งไม้ทับถมช่องระบายน้ำ เพื่อป้องกันการเกิดน้ำท่วมขังบนดาดฟ้า เท่านี้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องดาดฟ้ารั่วซึมได้เป็นอย่างดี

 

กันซึมดาดฟ้า หลังคา เลือกแบบไหนดี?

ทีโอเอมีกลุ่มเคมีภัณฑ์กันซึมที่สามารถแก้ไขและป้องกันเรื่องดาดฟ้าหลังคารั่วซึม มากถึง 3 รุ่นด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ทีโอเอ พียู วอเตอร์พรูฟ (TOA PU Waterproof)  ทีโอเอ 201 รูฟซีล (TOA 201 Roofseal)  ทีโอเอ รูฟซีล ซันบล็อก (TOA Roofseal Sunblock)  ซึ่งทั้งหมดเป็น กันซึมดาดฟ้า หลังคา ชนิดไร้รอยต่อ สามารถป้องกันน้ำผ่านได้ 100% และยังมีความยืดหยุ่นสูง ช่วยลดโอกาสการเกิดรอยแตกร้าวที่อาจมีเพิ่มมากขึ้น

การเลือก กันซึมดาดฟ้า หลังคา นั้นง่ายมาก เพียงแค่ตอบคำถามในใจคุณเองให้ได้ว่า 

1.ต้องการความทนทานนานแค่ไหน

2.ลักษณะการใช้งานของชั้นใต้ดาดฟ้าหลังคานั้นเป็นอย่างไร

เท่านี้ก็จะเลือก กันซึมดาดฟ้า หลังคา ที่จะนำมาใช้งานได้แล้ว กันซึมดาดฟ้า หลังคา ทีโอเอ พียู วอเตอร์พรูฟโพลียูรีเทน ทากันน้ำรั่วซึมบนดาดฟ้า หลังคาที่ทนทานนานที่สุด  วัสดุกันซึมประเภทโพลียูรีเทนนั้น นอกจากจะมีความทนทานยาวนานกว่า 10 ปีแล้ว ยังสามารถทนน้ำขังได้เป็นเวลากว่า 30 วัน และมีความยืดหยุ่นสูงถึง 800% เรียกได้ว่าเป็น กันซึมดาดฟ้า หลังคา ที่ดีที่สุด พรีเมี่ยมที่สุด ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ กันซึมดาดฟ้า หลังคา ของทีโอเอเลยก็ว่าได้

 

1. ทำความสะอาดดาดฟ้าเพื่อเตรียมพื้นผิว

ขูดแซะวัสดุกันซึมเดิมและปูนที่เสื่อมสภาพออก รวมถึงขัดล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อยแล้วทาน้ำยา ทีโอเอ 113 ไมโครคิล (TOA 113 Microkill)  เพื่อกำจัดเชื้อราและตะไคร่น้ำบนดาดฟ้าให้หมดไป จากนั้นทิ้งให้แห้งแบบไม่ต้องล้างน้ำออก เป็นเวลา 24 ชั่วโมง

 

2. อุดโป๊วรอยแตกร้าวด้วยผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม

ใช้ทีโอเอ โพลียูรีเทน ซีลแลนท์ (TOA PU Sealant) ซึ่งเป็นซีลแลนท์อุดโป๊วที่มีความยืดหยุ่นสูง กันน้ำได้ และทนต่อสภาวะอากาศได้ดีเยี่ยม

 

3. เริ่มทาอะคริลิกกันซึม ทีโอเอ 201 รูฟซีล แบบผสมน้ำ เพื่อทาเป็นชั้นรองพื้น

เปิดฝาอะคริลิกกันซึมดาดฟ้า ทีโอเอ 201 รูฟซีล แล้วกวนให้เข้ากัน จากนั้นตักแบ่งออกมาเพื่อผสมน้ำ ใช้อัตรา กันซึมดาดฟ้า 3 ส่วน ต่อ น้ำ 1 ส่วน โดยปริมาตร คนให้เข้ากันกับน้ำ แล้วทาเป็นชั้นรองพื้น อย่าลืมทายกขอบเป็นแนวบัวผนัง ประมาณ 10 เซนติเมตร

 

4. เสริมความแข็งแรงตามขอบมุม และรอยแตกร้าวบนดาดฟ้า

วางแผ่นทีโอเอ ไฟเบอร์ เมช (TOA Fibre Mesh) ตามขอบมุมและตามรอยแตกร้าวต่างๆ ใช้ลูกกลิ้งหรือแปรงรีดแผ่นตาข่าย ทีโอเอ ไพเบอร์ เมช ให้แนบสนิทไปกับ กันซึมดาดฟ้า ที่ทาเป็นชั้นรองพื้น ในขณะที่ชั้นรองพื้นยังหมาดอยู่ เสร็จแล้วทิ้งให้แห้งประมาณ 2-4 ชั่วโมง

 

5. ทาอะคริลิกกันซึมบนดาดฟ้าอีก 2 รอบ แบบไม่ต้องผสมน้ำ

เมื่ออะคริลิก กันซึมดาดฟ้า ชั้นรองพื้นแห้งดีแล้ว ให้ทากันซึมดาดฟ้าซ้ำอีก 2 รอบ แบบไม่ต้องผสมน้ำ ในแต่ละเที่ยวการทา ให้ทาไขว้กันตามภาพ เช่น รอบที่หนึ่ง ทาขึ้นหรือลง แล้วรอแห้ง 2-4 ชั่วโมง  รอบที่สองทาแนวขวางจากซ้ายไปขวา  แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง เพียงเท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย

 

       

        

Read More

ความรู้งานก่อสร้าง “การต่อเติมหลังคากันสาด”

สาระน่ารู้ :

การต่อเติมหลังคากันสาด หนึ่งในประเด็นที่หลายคนสงสัยก็คือ จะทำหลังคาใสๆ ให้แสงลอดผ่านได้หรือจะทำหลังคาทึบบังแดดไปเลยดี วันนี้จะขอแนะนำแนวทางให้พอนึกภาพกันออก เพื่อเป็นไอเดียในการต่อเติมหลังคาที่ตรงใจและตอบโจทย์การใช้งานสำหรับเจ้าของบ้าน
หลังคาใสกับหลังคาโปร่งแสง จะคล้ายกันตรงที่แสงส่องผ่านได้ทั้งคู่ โดยหลักแล้วถ้าพูดถึงหลังคาใส ย่อมต้องมองเห็นทะลุไปด้านนอกได้อย่างชัดเจน แต่ถ้าเป็นหลังคาโปร่งแสงนั้นเราจะนึกถึงวัสดุที่ขุ่นกว่า โดยจะมองทะลุอีกฝั่งได้ชัดมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับปริมาณที่แสงส่องผ่านได้ หากเป็นวัสดุที่แสงส่องผ่าน 80% จะมองทะลุได้ชัดกว่า วัสดุที่แสงส่องผ่านเพียง 40% เป็นต้น สำหรับครั้งนี้เพื่อไม่ให้งง จะขอเรียกหลังคาใสรวมไปกับ “หลังคาโปร่งแสง” ด้วยเลย
ส่วนหลังคาทึบแสง ก็จะหมายถึงหลังคาที่มุงวัสดุทึบ พูดง่ายๆ ว่าอยู่ใต้หลังคาทึบแสงแล้วแสงแดดจะไม่ส่องเข้ามาในพื้นที่ใช้สอย (แต่ก็ไม่ได้แปลว่าไม่ร้อน เพราะถึงแม้แดดจะไม่ส่องแต่ความร้อนก็ยังผ่านเข้ามาได้อยู่ดี)

หลังคาโปร่งแสงกับหลังคาทึบแสง เลือกใช้แบบไหนดี

​​​​​จะเลือกหลังคาโปร่งแสงหรือทึบแสงดีนั้น อันดับแรกควรดูเรื่องการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น

ต่อเติมหลังคากันสาดเหนือประตูหน้าต่าง หากเป็นทิศตะวันตกซึ่งต้องการกันทั้งแดดและฝน ก็ควรเลือกหลังคาทึบแสง แต่ถ้าเป็นทิศเหนือที่แดดร่มทั้งวัน อาจเลือกทำหลังคาโปร่งแสงเพื่อกันฝนโดยให้รับแสงธรรมชาติได้ทั้งวัน

       
ต่อเติมหลังคาลานซักล้าง  หากต้องการทำหลังคากันฝนแต่ให้รับแดดขณะตากผ้าด้วย จะเหมาะกับหลังคาโปร่งแสง
 
ต่อเติมหลังคาโรงจอดรถ ครัว ห้องเก็บของ พื้นที่พักผ่อนนั่งเล่น อันนี้ขึ้นอยู่กับทิศทางแดดและรายละเอียดการใช้สอย แต่ละบ้านมีความต้องการไม่เหมือนกัน หรือถ้าต้องการแสงธรรมชาติแค่บางส่วน อาจใช้ผสมกัน เช่น ห้องครัว อาจทำหลังคาโปร่งแสงให้แดดส่องบริเวณชั้นวางเครื่องครัวกับอ่างล้างจาน ส่วนบริเวณตู้เย็นและที่เก็บอาหารใช้หลังคาทึบ เป็นต้น
 

วัสดุมุงหลังคาโปร่งแสงและทึบแสง มีแบบไหนให้เลือกบ้าง

 
หลังคาแบบโปร่งแสงและทึบแสงมีวัสดุมุงหลายแบบหลายสีให้เลือก สำหรับหลังคาโปร่งแสงจะมีวัสดุแผ่นเรียบอย่างโพลีคาร์บอเนต (แบบแผ่นตัน แบบแผ่นลูกฟูก แบบผิวส้ม) และอะคริลิก (มีทั้งรุ่นธรรมดา รุ่นคุณภาพสูงเพิ่มความแข็งแกร่ง รุ่นป้องกันความร้อน) นอกจากนี้ยังมีไฟเบอร์กลาสทั้งแผ่นเรียบและแผ่นลอน กับอีกวัสดุคือ UPVC ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นลอน (หากเป็นสีขาวขุ่นแสงจะส่องผ่านเพียง40%) 
ส่วนวัสดุสำหรับต่อเติมหลังคาแบบทึบที่นิยมกันมากจะ ได้แก่ เมทัลชีท เป็นแผ่นหลังคาเหล็กรีดลอนซึ่งมีรุ่นธรรมดาและรุ่นติดตั้งฉนวนในตัว) กับอีกชนิดซึ่งมีรูปลอนใกล้เคียงกัน คือ UPVC ซึ่งมักมีฉนวนกันความร้อนสอดไส้ไว้ด้วย อีกวัสดุที่น่าสนใจคือ ไวนิล มีลักษณะเป็นชิ้นยาว หน้ากว้าง 12.5 ซม. ยาว 4-6 เมตร ตัวแผ่นถูกออกแบบให้ล็อกต่อกันได้เลย สำหรับกรณีที่ต้องการต่อเติมหลังคาแบบทึบควบคู่กับหลังคาโปร่งแสง อาจเลือกใช้ กระเบื้องหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ ซึ่งมีกระเบื้องโปร่งแสง (วัสดุไฟเบอร์กลาสหรือโพลีคาร์บอเนต) รูปลอนเดียวกันให้ใช้ด้วย

 

สรุปข้อดี ข้อคำนึง ของหลังคาโปร่งแสงและทึบแสง

หลังคาโปร่งแสง จะได้เปรียบกว่าหลังคาทึบแสงในเรื่องความสว่างและบรรยากาศจากแสงธรรมชาติ (อาจเหมาะกับคอนเซปต์ประหยัดพลังงานตรงที่ช่วยลดการเปิดไฟได้) และยังสร้างลูกเล่นการตกแต่งแสงเงาได้มากกว่า ข้อสำคัญในการเลือกใช้หลังคาโปร่งแสงคือ ควรดูปริมาณและทิศทางแดดให้ดีเพื่อไม่ให้แดดส่องจนร้อนเกินไป และอาจต้องทำใจว่าเมื่อใช้งานไปนานจะมองเห็นคราบสกปรกได้ง่าย รวมถึงไม่เหมาะกับการติดตั้งฉนวนกันร้อนกันเสียง เนื่องจากจะทำลายทั้งความสวยงามและจุดประสงค์หลักที่ต้องการให้แสงส่องผ่านได้

 

ส่วนหลังคาทึบแสง ถ้าพูดถึงเรื่องบรรยากาศรับแสงธรรมชาติ ความสวยงามเชิงทันสมัย และการสร้างลูกเล่นตกแต่ง อาจหลากหลายน้อยกว่าหลังคาโปร่งแสง ในขณะเดียวกัน หากเราจำเป็นต้องสร้างส่วนต่อเติมในพื้นที่ที่โดนแดดแรงนานๆ หลังคาทึบแสงจะตอบโจทย์เรื่องกันแดดกันร้อนได้ดีกว่า เพราะนอกจากแดดจะไม่ส่องโดยตรงแล้ว ยังสามารถติดตั้งฉนวนกันร้อนและกันเสียงใต้วัสดุมุงได้ด้วยโดยไม่ต้องคำนึงเรื่องความสวยงามจากภายนอก นอกจากนี้ วัสดุหลังคาทึบแสงมักมีราคาถูกกว่าหลังคาโปร่งแสง (เมื่อเทียบระดับคุณภาพการใช้งานที่ใกล้เคียงกัน)

 

ตัวอย่างหลังคาแบบโปร่งแสง

ตัวอย่างหลังคาแบบทึบแสง
     
(cr. pinterest)
Read More

ความรู้งานก่อสร้าง “ปัญหาพื้นที่จอดรถทรุด”

สาระน่ารู้ : ปัญหาพื้นที่จอดรถทรุด

สำหรับบ้านที่อยู่กรุงเทพฯ, ปริมณฑล, แถวภาคกลาง หรือบ้านที่อยู่บนชั้นดินอ่อนพื้นที่ตามท้องนา ห้วย หนอง คลอง บึง ต้องเคยเจอปัญหาพื้นจอดรถเกิดการทรุดตัว, มีรอยร้าว หรือรอยแยกกันทั้งนั้น เพราะการอยู่บนชั้นดินอ่อนคือความเสี่ยงอย่างหนึ่งในการเกิดปัญหานี้ วันนี้เรามี 3 วิธี แก้ปัญหาพื้นจอดรถทรุด มาฝาก เพื่อให้ผู้ที่ประสบปัญหานี้เข้าใจและมีวิธีแก้ไขกันครับ

 

วิธีแก้ไขปัญหาพื้นจอดรถทรุด

  • สร้างพื้นจอดรถบนโครงสร้างที่มีเสาเข็มรองรับ และความยาวของเสาเข็มต้องยาวใกล้เคียงกับตัวบ้าน จึงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะจะทำให้การทรุดตัวของทั้งบ้าน และที่จอดรถเกิดความเท่ากัน แต่ก็มีข้อเสียอยู่คือ ทำให้สิ้นเปลืองค่าก่อสร้างมากขึ้น และรอยต่อระหว่างที่จอดรถกับถนนหน้าบ้านอาจเกิดรอยแตกขึ้นได้ เนื่องมาจากการทรุดตัวของถนน แล้วเราก็ต้องมาแก้ไขในส่วนนี้เพิ่มเติมอีก เช่นการเทพื้นทำทางลาด (Ramp) เป็นต้น แต่ก็ดีกว่าการปล่อยให้พื้นจอดรถทรุดลงไปเรื่อย ๆ

 

  • ก่อสร้างพื้นจอดรถบนเสาเข็มสั้นแบบปูพรม โดยปกติที่นิยมใช้กันคือเสาเข็มสั้น เช่น เสาเข็มหกเหลี่ยม หรือเสาเข็มรูปตัวไอความยาวประมาณ 2-6 เมตร มาตอกปูพรมทุกระยะ 1 เมตร เป็นต้น เพื่อช่วยชะลอการทรุดตัวของพื้นที่จอดรถ อย่างไรก็ตามวิธีนี้แม้จะมีเสาเข็มช่วยรับน้ำหนักแต่พื้นก็ยังเกิดการทรุดตัวอยู่ดี ดังนั้นบริเวณที่จอดรถที่ติดกับตัวบ้านควรแยกโครงสร้างออกจากกัน ด้วยการตัดแยกรอยต่อระหว่างพื้นโครงสร้างที่วางบนคานและพื้นโครงสร้างที่วางบนดิน หรือเรียกสั้น ๆ ว่าการการตัด Joint โครงสร้างไม่ให้ติดกันก็ได้ (วิธีที่นิยมใช้กัน คือ วิธีการตัด Joint โดยการโรยกรวด หรือกรณีที่รอยร้าวไม่มากจะใช้วิธีอุดรอยต่อด้วยโฟมเส้นแล้วยาแนวด้านบนด้วยวัสดุอุดรอยต่อ อาทิ PU หรือ ซิลิโคน หรือยางมะตอย)

 

  • ให้ก่อสร้างพื้นจอดรถบนพื้นดิน (Slab On ground) โดยไม่มีเสาเข็มหรือโครงสร้างรองรับ วิธีนี้เป็นวิธีที่ถูกและประหยัดที่สุด ที่สำคัญเหมาะกับการก่อสร้างพื้นจอดรถบนดินแข็งด้วย แต่มีข้อแม้อยู่ที่หากตั้งอยู่บนดินอ่อนก็จำเป็นต้องบดอัดดินให้แน่นก่อนทำการเทพื้นที่จอดรถ จากนั้นช่างจะทำการตัดแยกโครงสร้างส่วนที่จอดรถและโครงสร้างโดยรอบออกจากกันครับ

 

สรุปวิธีแก้ไขปัญหาพื้นจอดรถทรุดแบบสั้นกระชับเข้าใจง่ายมากขึ้น

วิธีที่ 1 : เป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะไม่เกิดการทรุดตัวที่แตกต่างกันระหว่างตัวบ้านและที่จอดรถ แต่ค่าก่อสร้างอาจสูง และต้องแก้ปัญหารอยต่อระหว่างที่จอดรถกับถนนหน้าบ้านต่อ เนื่องมาจากถนนหน้าบ้านอาจเกิดการทรุดตัว

วิธีที่ 2 : จะมีการทรุดตัวปานกลางขึ้นกับความยาวเสาเข็ม ค่าใช้จ่ายปานกลาง

วิธีที่ 3 : แม้วิธีนี้จะง่าย และค่าใช้จ่ายถูกที่สุด แต่อาจเกิดปัญหาการทรุดตัวมากที่สุด หมายถึงเราต้องคอยตามซ่อมไปเรื่อย ๆ   อีกทั้งวิธีนี้ยังไม่ควรลงทุนทำพื้นสวย ๆ เช่น ทรายล้าง, คอนกรีตพิมพ์ลาย, ปูกระเบื้องแพง ๆ เลย เนื่องจากต้องซ่อมบ่อยนั่นเอง

 

         

 

 

 

Read More

ความรู้งานก่อสร้าง “แผ่นผนังและฝ้า”

สาระน่ารู้ : งานก่อสร้าง

เรื่อง : แผ่นผนังและฝ้า แผ่นยิปซั่มบอร์ด และ แผ่นสมาร์ทบอร์ด

 

แผ่นยิปซั่มบอร์ด และ แผ่นสมาร์ทบอร์ด คือ วัสดุหลักสำหรับการทำฝ้าเพดานและฝาผนัง ถึงแม้ทั้งคู่จะดูคล้ายกัน แต่กลับมีความแตกต่างในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของคุณสมบัติ พื้นที่การใช้งาน และวิธีการติดตั้ง วันนี้เราจะมาอธิบายถึงความแตกต่างเหล่านี้เพื่อให้คุณได้เลือกใช้อย่างถูกวิธี

แผ่นยิปซั่มบอร์ด

แผ่นยิปซัมบอร์ด ผลิตจากแร่ยิปซั่มที่นำมาขึ้นรูปให้เป็นแผ่น ประกบทับด้วยกระดาษเหนียวอัดแน่นที่ด้านหน้าและด้านหลัง จึงมีผิวหน้าที่เรียบเนียนสม่ำเสมอ แต่คงไว้ซึ่งความแข็งแรงทนทาน แผ่นยิปซั่มบอร์ดมีน้ำหนักเบา และมีหลายชนิดให้เลือกใช้เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่แตกต่าง เช่น ชนิด ทนชื้น, กันร้อน และทนไฟ เป็นต้น

แผ่นสมาร์ทบอร์ด

แผ่นสมาร์ทบอร์ด คือ แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์คุณภาพสูง ผลิตจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์, ซิลิก้า และเส้นใยเซลลูโลสชนิดพิเศษ ผ่านกระบวนการอบไอน้ำแรงดันสูง ช่วยให้แผ่นมีความแข็งแรง ไม่แตกหักง่าย ทนได้ทั้งแดดและฝน อีกทั้งยังไม่เป็นอาหารของปลวก แผ่นสมาร์ทบอร์ด  มีหลายรุ่นให้เลือกใช้ตามประเภทการใช้งานที่ต้องการ เช่น รุ่น ขอบเรียบ, ขอบลาด 2 ด้าน และ ระบายอากาศ โพรเทคชั่น เป็นต้น

 

     แผ่นยิปซั่มบอร์ด เหมาะสำหรับงานฝ้าเพดานและผนังภายใน เพราะมีผิวหน้าที่เรียบเนียนสวยงาม สามารถฉาบเก็บรอยต่อได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย อีกทั้งยังมีฝุ่นน้อยและตัดแต่งได้ด้วยคัตเตอร์ ทำให้ง่ายต่อการเจาะซ่อมแซม สำหรับการใช้งานบริเวณฝ้าภายนอก สามารถเลือกใช้แผ่นยิปซั่มบอร์ดชายคาเพื่อตอบโจทย์เรื่องความทนทานต่อสภาพอากาศ ฝ้าเพดานและผนังห้องนอนฝ้าหลุม ฝ้าเล่นระดับ ในห้องนั่งเล่นฝ้าชายคา

 

   แผ่นสมาร์ทบอร์ด  เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ต้องการความทนทานเป็นพิเศษ เพราะสามารถรับแรงกระแทกได้ดี ไม่แตกหักง่าย ทนทานต่อแดดและฝน และที่สำคัญไม่เป็นอาหารของปลวก จึงนำไปใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอก ไม่ว่าจะเป็นงานฝ้าเพดาน, ฝาผนัง และพื้น ฝ้าภายนอกผนังตกแต่งภายนอก    

Read More

ความรู้งานก่อสร้าง “‘งานซ่อมกระเบื้องหลุดล่อน”

สาระน่ารู้ : งานซ่อมแซมกระเบื้องหลุดล่อน โก่งตัว

เรื่อง  : งานซ่อมแซมกระเบื้องหลุดล่อน โก่งตัว

 

ทำไมกระเบื้องจึงหลุดร่อน โก่งตัว ระเบิด

การที่กระเบื้องหลุดร่อน โก่งตัว ระเบิด มีสาเหตุ อยู่หลายปัจจัย อาทิ เช่น

  1. ปูนที่ใช้ผสมทรายแทนการใช้ปูนกาวปูกระเบื้อง
    ปูนซีเมนต์ผสมทรายจะมีค่าการยึดเกาะที่ต่ำกว่าปูนกาวปูกระเบื้อง จึงทำให้กระเบื้องหลุดร่อน โก่งตัว ระเบิด ได้โดยง่าย
  2. ปูกระเบื้องไม่ถูกต้อง ตามวิธีการที่เหมาะสม
    • การปูกระเบื้อง แบบวิธีปูแบบซาลาเปา
      การปูกระเบื้องแบบซาลาเปา เป็นการใช้ปูนกาว / ปูนซีเมนต์ผสมทราย ป้ายใส่บริเวณใต้กระเบื้องเป็นก้อนๆ การทำแบบนี้ อากาศจะสามารถไหลเข้าไปแทรกตามช่องว่างใต้กระเบื้อง ทำให้การยึดเกาะลดลงจนกระเบื้องหลุดร่อนออกมาได้
    • การปูกระเบื้องแบบขี้หนู
      การปูกระเบื้องแบบขี้หนู เป็นการปรับระดับพร้อมปูกระเบื้องไปในตัว แต่ผลของการปูกระเบื้องด้วยวิธีนี้จะทำให้กระเบื้องมีโอกาสเคลื่อนหรือยุบตัวได้ และจะทำให้เกิดปัญหากระเบื้องกระเดิด หรือหลุดร่อน ระเบิดได้

 

วิธีแก้ไขซ่อมแซมกระเบื้องหลุดร่อน โก่งตัว ระเบิด มีหลายขั้นตอน ตามขั้นตอนดังนี้

กัดซีเมนต์บริเวณที่กระเบื้องหลุดร่อน โก่งตัว ระเบิด แล้วทำความสะอาดพื้นผิวให้ ถ้าพื้นผิวมีรูพรุนมาก ต้องทำให้พื้นผิวซึมซับน้ำให้อิ่มตัวก่อนปูกระเบื้อง

  1. ผสมปูนกาวทีโอเอกับน้ำสะอาด (อัตราส่วน 20 กก : น้ำ 5 ลิตร) ปั่นด้วยสว่านรอบต่ำ ผสมให้เนียนเป็นเนื้อเดียวกัน ทิ้งไว้ให้เคมีบ่มตัวประมาณ 3-5 นาที แล้วกวนส่วนผสมอีกครั้งก่อนนำไปใช้งาน
  2. ใช้เกรียงหวีด้านเรียบ ปาดปูนกาวทีโอเอ ลงบนพื้นหรือผนังที่ต้องการปูกระเบื้อง แล้วใช้เกรียงหวีด้านที่เป็นร่องปาดครูดให้เป็นรอยทาง
  3. ใช้ปูนกาว ทาใต้กระเบื้องให้เต็มแผ่น แล้วประกบกระเบื้องลงบนพื้นผิว ใช้ค้อนยางเกาะให้กระเบื้องติดแน่นกับปูนกาว กดกระเบื้องลงให้หลังกระเบื้องสัมผัสกับปูนกาวเต็มแผ่น
  4. ปรับแต่งกระเบื้องให้ตรงตามแนวที่ต้องการได้ภายใน 15 นาที
  5. ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงก่อนทำการยาแนว

 

 

                      

.

             

Read More
  • 1
  • 2