ความรู้งานก่อสร้าง “กำลังอัดคอนกรีต”

สาระน่ารู้ : งานก่อสร้าง

เรื่อง : เกร็ดความรู้ เรื่องกำลังอัดคอนกรีตคืออะไร

กำลังอัดคอนกรีตคือ แรงที่คอนกรีตสามารถรับแรงกดทับได้ในปริมาตร 1 ลบ.ซม. แล้วจึงจะพังลง เช่นตัวอย่าง คอนกรีตกำลังอัดทรงลูกบาศก์ 180 Ksc หมายถึง คอนกรีตชนิดนี้ต้องใช้น้ำหนักทับลงในแนวดิ่ง 180 กิโลกรัม เพื่อทำให้คอนกรีต 1 ตร.ซม. พังนั่นเอง

Ksc. คืออะไร?

Ksc. ย่อมาจาก Kilogram Per Square Centimeter แปลว่า กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร โดยทั่วไปแล้วจะมีหน่วยการวัดกำลังอัดอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่

  1. กำลังอัดของคอนกรีตรูปทรงกระบอก (Cylinder) มีค่าเป็น กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (ksc) (อ้างอิงตามมาตรฐานของฝั่งอเมริกา ASTM)
  2. กำลังอัดของคอนกรีตรูปทรงลูกบาศก์ (Cube) มีค่าเป็น กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (ksc) (อ้างอิงตามมาตรฐานของฝั่งอังกฤษ BS)

ควรใช้คอนกรีตกำลังอัดเท่าไหร่ ?

ทุกท่านทราบกันดีว่าคอนกรีตนั้นมีขนาดของกำลังอัดที่แตกต่างกัน เพื่อที่จะสามารถใช้งานในการก่อสร้างได้อย่างเหมาะสมในงานแต่ละแบบแล้ว การเลือกกำลังอัดที่ไม่สูงหรือต่ำเกินไปจะทำให้ท่านได้คอนกรีตที่ดีมีคุณภาพในราคาที่ต่ำ โดยกำลังอัดของคอนกรีตโดยทั่วไปจะมีกำลังอัดดังต่อไปนี้

  • LEAN

Lean หรือคอนกรีตหยาบ คือ คอนกรีตที่ค่อนข้างรับน้ำหนักได้ต่ำ ใช้สำหรับงานเทปรับระดับพื้นดินที่ไม่เรียบ รวมถึงช่วยป้องกันการสัมผัสกันโดยตรงระหว่างดินกับคอนกรีตสด โดยเฉพาะโครงสร้างที่อยู่ต่ำกว่าหรือใกล้กับระดับดินและงานหล่อโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ทั้งนี้ การเทคอนกรีตหยาบในบ้านเรานิยมเรียกกันว่า การเทลีน โดยการเทลีนจะเทลงไปบนพื้นดินหนาประมาณ 5-10 เซนติเมตร เพื่อปรับหน้าดินให้เรียบและป้องกันการเปลี่ยนตำแหน่งของเหล็กที่เกิดจากการไหลของหน้าดิน

 

  • คอนกรีตกำลังอัด 180 ksc. คอนกรีตกำลังอัด 180 ksc. หรือคอนกรีตที่สามารถรับแรงกดทับในแนวดิ่งได้ 180 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร เหมาะสำหรับการใช้งานที่ไม่รับแรงกดทับมาก เช่นการเทพื้นลานนอกบ้าน ลานจอดรถเก๋ง รถกระบะ ลานโรงเรียนลานอเนกประสงค์

 

  • คอนกรีตกำลังอัด 240 ksc .หรือคอนกรีตที่สามารถรับแรงกดทับในแนวดิ่งได้ 240กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร สามารถกันน้ำได้ในระดับหนึ่งโดยใช้น้ำยากันซึมเข้าช่วย เหมาะสำหรับการใช้งานในอาคารขนาดเล็กที่ได้มาตรฐานสูง และการใช้งานในถนนบางประเภท เช่น งานถนนที่มีการจราจรน้อย ลานจอดรถเก๋ง รถกระบะ ถนนเทศบาล อบต. อบจ. พื้นดาดฟ้า พื้นห้องน้ำ อาคารพาณิชย์ 2-4 ชั้น บ้านชั้นเดียว, บ้าน 2 ชั้น ฐานรากบ้าน

 

  • คอนกรีตกำลังอัด 280 ksc.คอนกรีตกำลังอัด 280 ksc. หรือคอนกรีตที่สามารถรับแรงกดทับในแนวดิ่งได้ 280 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร เหมาะสำหรับการใช้งานในอาคารขนาดกลาง และงานถนนที่ใหญ่ขึ้นตามขนาดของการใช้งาน เช่น โรงแรมอาคารสำนักงาน 2-4 ชั้น อาคารเรียน 4-6 ชั้น อาคารที่พักอาศัย

 

  • ถนนเทศบาล อบต. อบจ.

 

  • คอนกรีตกำลังอัด 320 ksc. คอนกรีตกำลังอัด 320 ksc. หรือคอนกรีตที่สามารถรับแรงกดทับในแนวดิ่งได้ 320 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร เป็นคอนกรีตที่ค่อนข้างแข็งแรง สามารถรับแรงกดทับได้มาก เหมาะสำหรับอาคารสูงที่มีเหล็กมาก และงานถนนสายหลัก เช่น ถนนกรมทางหลวง พื้นโกดังเก็บสินค้า สระว่ายน้ำ พื้นดาดฟ้า อาคารที่พักอาศัย อาคารเรียน 4-6 ชั้น โรงแรมสูง คอนโดมิเนียม 4-8 ชั้น

 

  • คอนกรีตกำลังอัด 380 ksc.คอนกรีตกำลังอัด 380 ksc. หรือคอนกรีตที่สามารถรับแรงกดทับในแนวดิ่งได้ 380 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร เป็นคอนกรีตที่สามารถรองรับงานได้เกือบทุกแบบตั้งแต่งานอาคารขนาดกลางไปจนถึงอาคารสูงที่มีเหล็กหนาแน่นมาก ประเภทของงานที่รองรับ ได้แก่ โรงแรมสูง คอนโดมิเนียม 4-8 ชั้น ศูนย์การค้าต่างๆ ผนังเขื่อน ถนนกรมทางหลวง, สำนักงานทางหลวงชนบท สระว่ายน้ำ

 

  • คอนกรีตกำลังอัด 400 ksc. คอนกรีตกำลังอัด 400 ksc. หรือคอนกรีตที่สามารถรับแรงกดทับในแนวดิ่งได้ 400 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษตามขนาดของการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ อาคารที่สูงมากกว่า 8 ชั้นไปใช้เทเพื่อการผลิตแผ่นพื้น เสา คานลานบินผนังเขื่อน

 

  • คอนกรีตกำลังอัด 450 ksc. คอนกรีตกำลังอัด 450 ksc. หรือคอนกรีตที่สามารถรับแรงกดทับในแนวดิ่งได้ 450 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษตามขนาดของการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ

 

รูปคอนกรีต

 

       

       

Read More

ความรู้งานก่อสร้าง “กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อเติมบ้าน”

ความรู้งานก่อสร้าง

เรื่อง : กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อเติม ปรับปรุง บ้าน

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อเติมบ้านโดยตรง คือ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 และ 39 ทวิ ซึ่งสรุปเอาไว้ให้เข้าใจง่าย คือ การจะดัดแปลง ต่อเติมอาคาร ต้องแจ้งและต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานท้องถิ่น ก่อนเสมอ ตามมาตรา 21 พร้อมต้องยื่นแบบแปลน รวมถึงชื่อสถาปนิกและวิศวกรที่ควบคุมงาน ให้เจ้าพนักงานทราบ ลูกค้าที่มีความคิดและต้องการจะต่อเติม เสริมแต่งบ้าน เช่น ห้องครัว ห้องนั่งเล่น ระเบียง ฯลฯ ที่ต้องยื่นออกมานอกบ้าน โรงจอดรถ ห้องสำหรับผู้สูงวัย หรือห้องเก็บของ ถึงแม้จะทำในพื้นที่บ้านตัวเอง แต่รู้หรือไม่ว่าการต่อเติมใดๆ ต้องอยู่ ภายใต้กฎหมายการต่อเติม เพื่อป้องกันความเสียหายและการผิดกฎหมายในอนาคต

การต่อเติม ปรับปรุง รีโนเวท บ้าน ต้องปฎิบัติตามกฎหมายที่คุณต้องรู้ ดังนี้

 

  • ต้องระวังเรื่อง ต่อเติมอาคาร แนวอาคารและระยะร่นต่างๆ ดังนี้

แนวรั้วหรือกำแพงที่สร้างขึ้นติดต่อหรือห่างจากถนนสาธารณะน้อยกว่าความสูงของรั้วให้ก่อสร้างได้สูงไม่เกิน 3 เมตร เหนือระดับทางเท้าหรือถนนสาธารณะ อาคารที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่เกิน 23 เมตร ผนังของอาคาร,ช่องเปิด (หน้าต่าง,ประตู,ช่องลม,ช่องแสง) หรือระเบียงของอาคารต้องอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดิน 3 เมตรอาคารที่มีความสูง ไม่เกิน 9 เมตร ควรเว้นระยะห่างของผนัง,ช่องเปิด (หน้าต่าง,ช่องลม,ช่องแสง) ห่างจากแนวของเขตที่ดิน ข้างเคียงไม่น้อยกว่า 2 เมตร แต่ถ้าเป็นผนังทึบต้องเว้นระยะห่างไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร

 

  • ลูกค้าต้องได้รับความยินยอมจากเพื่อนบ้านข้างเคียง ก่อนการต่อเติม ปรับปรุงบ้าน

บ้านข้างเคียง สังคมที่เราต้องอยู่ร่วมกันในระยะยาว ดังนั้นการต่อเติมที่อยู่อาศัยจึงควรบอกกล่าวเพื่อนบ้านให้รับรู้ และขอความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากเพื่อนบ้าน ว่าต้องการต่อเติม ปรับปรุงบ้าน ก่อน เพื่อป้องกันความขัดแย้งในการก่อสร้าง โดยเฉพาะหากเจ้าของบ้านต้องการต่อเติมบ้านชิดเขตที่ดินของเพื่อนบ้าน หากไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง ก็ไม่สามารถต่อเติมชิดเขตพื้นที่ได้ ต้องเว้นระยะห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 0.50 เมตร และต้องเป็นผนังทึบไร้ช่องเปิดเท่านั้น ไม่เช่นนั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย

 

  • ลูกค้า ต้องห้ามต่อเติมอาคารเต็มพื้นที่ดิน ต้องมีพื้นที่ว่างเหลือไม่น้อยกว่า 30%

เนื่องจากกฎหมายไม่อนุญาตให้ต่อเติมที่พักอาศัยจนเต็มทั้งพื้นที่ของที่ดิน โดยต้องที่เว้นว่างระหว่างตัวบ้านกับเขตที่ดินของตัวเองอย่างน้อย 30% ของพื้นที่ เพื่อป้องกันเหตุไม่คาดคิด เช่น เหตุเพลิงไหม้ เพราะเมื่อเกิดเหตุดังกล่าว ถ้าบ้านติดกันไม่มีช่องว่างจะเกิดการล่ามไฟได้ง่าย พนักงานดับเพลิงไม่สามารถเข้าไปดับเพลิงได้ ถ้าไม่มีพื้นที่ว่างระหว่างอาคาร การระบายอากาศก็ไม่ดีทำให้บ้านอับชื้น ต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 30 ใน 100 ส่วนของที่ดินที่ว่างโดยรอบอาคาร ถ้าอาคารสูงน้อยกว่า 15 เมตร ต้องมีที่ว่างโดยรอบ 1.00 เมตร ถ้าอาคารสูงตั้งแต่ 15 เมตร ต้องมีที่ว่าง โดยรอบ 2.00 เมตร

 

  • ลูกค้าต้องมีสถาปนิกและวิศวกรควบคุมการดำเนินการต่อเติม

เมื่อลูกค้าทำเรื่องขออนุญาตกับเจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว  สิ่งที่จะต้องมีเมื่อเราต้อง  การต่อเติมที่อยู่อาศัยนั้นก็คือ แบบแปลนที่ได้รับการรับรองจากสถาปนิกและวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างอาคาร  กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงวัสดุก็จำเป็นต้องให้วิศวกรคำนวณ เพื่อสรุปว่าการต่อเติมนั้นจะสามารถอนุญาตให้ต่อเติมได้หรือไม่ โดยจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักความปลอดภัย  เมื่อทราบกฎหมายควบคุมการต่อเติมบ้านแล้ว เจ้าของบ้านที่มีแผนจะต่อเติมบ้านเพื่อให้สอดคล้องกับการอยู่อาศัยจึงควรวางแผนก่อนต่อเติมเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่ตามมา ซึ่งหากเจ้าของบ้านไม่ปฏิบัติตามแล้วมีผู้ร้องเรียนเจ้าของบ้านจะต้องโทษจำคุก ไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งหากเจ้าของบ้านเลือกใช้บริษัทรับสร้างบ้าน ที่ได้มาตรฐานจะช่วยป้องกันปัญหาการต่อเติมที่ผิดกฎหมายได้ เนื่องจากมีสถาปนิกและวิศวกรควบคุมงาน อีกทั้งยังช่วยประสานงานติดต่อขออนุญาตในขั้นตอนต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเจ้าของบ้าน และทำให้การก่อสร้างต่อเติมเป็นไปอย่างราบรื่น หมดปัญหาหมดห่วงอย่างแน่นอน

 

  • ต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงานในพื้นที่

การต่อเติมบ้านทั้งบ้านชั้นเดียว และบ้านหลายชั้น จะต้องมีใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อน หากมีการต่อเติมในขอบเขตดังต่อไปนี

– การต่อเติมบ้านที่มีพื้นที่ครอบคลุมเกิน 5 เมตรหรือตารางเมตร

– การลด-เพิ่ม จำนวนเสา หรือคาน

– การต่อเติมที่มีความเปลี่ยนแปลงของวัสดุ ขนาด ที่แตกต่างไปจากของเดิม

– การต่อเติมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักบ้านที่เพิ่มมากขึ้นจากการคำนวณฐานรับน้ำหนัก

 

Read More

ความรู้งานก่อสร้าง “เหล็กเส้นกลมและเหล็กข้ออ้อย”

ความรู้เรื่อง :  เหล็กเส้นกลมและเหล็กข้ออ้อย

 

  ในการก่อสร้าง เหล็กเป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญในงานโครงสร้างที่จะทำให้สิ่งก่อสร้างเป็นรูปร่างและมีความคงทนแข็งแรง ซึ่งเหล็กในแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

 

  • เหล็กเส้นกลม (Round Bar)  ช่างโดยทั่วไปมักเรียกกันว่า เหล็ก RB มีลักษณะภายนอกจะมีผิวเรียบเกลี้ยง หน้าตัดกลม ซึ่งที่มีขายกันอยู่ทั่วไป ใช้ในการยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กกับคอนกรีต ต้องมีการงอเพื่อที่จะสามารถถ่ายแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนมากจะใช้สำหรับงานโครงสร้าง เช่น ปลอกเสา ปลอกคาน โครงถนน งานก่อสร้างขนาดเล็กและขนาดกลาง เป็นต้น เหล็กชนิดนี้จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 6 -25 มิลลิเมตร สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมในการใช้งาน

   มาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.20-2559 ชั้นคุณภาพของเหล็กประเภทนี้คือ SR24 ที่เป็นที่รู้จักและนิยมใช้คือ เหล็ก Tata tiscon, บลกท, RSM, TDC

     – RB6 (เหล็กเส้นกลม 2 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก นิยมใช้ทำปอกเสา และปอกคาน

     – RB9 (เหล็กเส้นกลม 3 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก คล้ายกับเหล็กเส้นกลม 2 หุน

     – RB12 (เหล็กเส้นกลม 4 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป แต่ไม่เน้นงานยึดเกาะ เพราะเหล็กมีลักษณะ 

เรียบมน ทำให้ยึดเกาะปูนไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนมากนิยมใช้กับงานกลึง เช่น งานกลึงหัวน๊อตต่างๆ

      – RB19  ใช้สำหรับงานทำถนน

     – RB25 ใช้ทำเป็นเหล็กสตัท เกรียวเร่ง สำหรับงานยึดโครงป้ายขนาดใหญ่สามารถรับแรง และน้ำหนักได้ดี

 

  • เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar) เป็นเหล็กที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างเสริมคอนกรีตที่ต้องการโครงสร้างแข็งแรง เช่น อาคารสูง คอนโดมิเนียม ถนนคอนกรีต สะพาน เขื่อน สนามบิน บ่อหรือสระน้ำ เป็นต้น มีลักษณะเป็นเส้นกลมที่มีบั้ง ผิวของเหล็กจะมีลักษณะเป็นปล้องๆ อยู่ตลอดเส้น เหล็กข้ออ้อยจะรับแรงได้มากกว่าเหล็กเส้นกลมเรียบ จะให้ผลที่ดีต่อการรับน้ำหนักมากกว่า การเลือกใช้ชนิดของเหล็กเส้นข้ออ้อย  SD30, SD40และ SD50 ขึ้นอยู่กับชนิดของโครงสร้างเป็นสำคัญ โดยเหล็กข้ออ้อยจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่มีขายโดยทั่วไปคือ 12 และ 16 มม. สำหรับขนาดอื่นได้แก่ 10, 20, 25 และ 28 มม. ต้องสั่งซื้อพิเศษ โดยเหล็กข้ออ้อยแต่ละขนาดจะมีความยาวอยู่ที่ 10 และ 12 เมตรเช่นเดียวกับเหล็กเส้นกลม

 

 

รูปตัวอย่าง เหล็กเส้นกลม เหล็กข้ออ้อย

     

     

       

Read More

ความรู้งานก่อสร้าง “รอยแตกร้าวผนังปูน”

สาระน่ารู้ : งานก่อสร้าง

เรื่อง : รอยแตกร้าวผนังปูน

 

  • รอยแตกร้าวที่ก่อให้เกิดอันตราย

    เป็นร้อยร้าวที่เกิดจากโครงสร้างอาคารที่ทรุดตัวหรือการคำนวณการรับน้ำหนักของโครงสร้างอาคารที่ผิดพลาด โดยเราสามารถสังเกตลักษณะรอยร้าวได้ดังนี้

รอยแตกร้าวที่เป็นแนวเฉียงกลางผนัง

รอยลักษณะนี้เกิดจากการทรุดตัวของเสาต้นใดต้นหนึ่ง จึงทำให้คานไม่สามารถรับน้ำหนักได้ จนเกิดเป็นรอยร้าวเฉียงตามแนวกำแพง รอยลักษณะนี้อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ในอนาคต

รอยแตกร้าวในแนวดิ่งกลางผนัง

สาเหตุเกิดจากคานบนผนังมีการรับน้ำหนักที่มากเกินไป จึงทำให้คานเกิดอาการแอ่นตัวหรืองอตัว จนทำให้มีการแตกร้าวเป็นเส้นแนวยาวเกิดขึ้นตามผนัง วิธีแก้ไขเบื้องต้นคือการย้ายของหนักที่อยู่ชั้นบนเหนือบริเวณจุดที่มีปัญหาออกและแจ้งผู้ชำนาญการหรือวิศวกรให้มาตรวจสอบและทำการแก้ไข

รอบแตกร้าวบริเวณแนวคานและแนวเสา

สาเหตุเกิดจากคานและแนวเสาบริเวณนั้น รับน้ำหนักที่มากเกินไป จึงทำให้คานเกิดการแอ่นตัวและส่งผลให้เกิดรอยร้าวตามมา สาเหตุอาจเกิดจากการคำนวณโครงสร้างที่ผิดพลาด หรือมีการดัดแปลงการใช้อาคารที่ผิดวัตถุประสงค์จนทำให้มีการรับน้ำหนักของตัวอาคารที่มากเกินไป

 

  • รอยแตกร้าวทั่วไปที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย

เป็นรอยร้าวที่สามารถซ่อมได้ง่ายไม่ก่อให้เกิดอันตราย รอยแตกร้าวนี้อาจเกิดจากการผสมปูนและฉาบปูนที่ไม่ได้ตามมาตรฐาน หรือการยืดตัวหดตัวของวัสดุก่อผนัง นอกจากนี้อาจมีสาเหตุมาจากการสั่นไหวของตัวโครงสร้างจึงทำมีการแตกร้าวบริเวณผนังเกิดขึ้น ซึ่งลักษณะอาการแตกร้าวที่พบเห็นได้ทั่วไปนั้น จะมีลักษณะดังนี้

รอยแตกร้าวลายงา

รอยแตกร้าวลายงา สาเหตุอาจเกิดมาจากช่างที่ทำการฉาบปูนนั้นไม่มีความชำนาญ การฉาบปูนที่ไม่ได้ตามมาตรฐาน หรือมีการผสมปูนที่ไม่ได้ตามอัตราส่วน นอกจากนี้รอยแตกร้าวนั้นอาจเกิดจากวัสดุที่เลือกใช้ในการก่อผนังมีการหดตัวหรือขยายตัวเกิดขึ้นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ จนทำให้มีการแตกร้าว

รอยแตกร้าวตามมุมขอบวงกบประตูและหน้าต่าง

เป็นรอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นบริเวณขอบวงกบประตูหรือหน้าต่างเป็นแนวเฉียง สาเหตุอาจเกิดมาจากช่างที่ไม่ได้ทำการติดตั้งเสาเอ็นและคานทับหลัง ที่มีส่วนช่วยในการสร้างความแข็งแรงของผนังบริเวณขอบประตูและขอบหน้าต่างให้สามารถรับน้ำหนักและแรงกระแทกที่เกิดขึ้นได้ จึงทำให้เกิดการแตกร้าว

รูปตัวอย่างรอยแตกร้าวผนังปูน แบบต่างๆ

 

       

      

       

       

 

 

Read More

ความรู้งานก่อสร้าง “แผ่นสำหรับการมุงหลังคา”

ความรู้งานก่อสร้าง

เรื่องแผ่นสำหรับมุงหลังคา เมทัลชีท ฉีดโฟม พียู (PU Foam)

 

พียูโฟม (PU Foam) + แผ่นเมทัลชีท (Metal Sheet) หรือ แผ่นพียูโฟมแซนวิชที่มีความหนา 1 – 2 นิ้ว นิยมใช้ภายในอาคารที่มีเครื่องปรับอากาศ หรือ บริเวณพื้นที่ภายนอก ส่วนต่อเติมต่างๆ เช่นห้องครัว ห้องนอน พื้นที่หลังคาที่ต้องการความร่มเย็น มีคุณสมบัติเก็บความเย็น ไม่สะสมความร้อนและยังไม่สามารถติดไฟได้ง่าย

 

พียูโฟม (PU Foam) คือฉนวนหรือโฟมที่มีประสิทธิภาพในการกันความร้อน เก็บความเย็น และปกป้องเสียงเข้าสู่ภายในอาคารได้ดี มีโครงสร้างเป็นเซลล์ปิด (Closed Cell) ผลิตโดยการฉีดฉนวนที่มีชื่อว่า “โพลียูรีเทนโฟม” หรือพียูโฟม (PU Foam) ลงบนแผ่นเมทัลชีทโดยพียูโฟม เกิดจากสารเคมี 2 ชนิด ที่ผสมกันและให้ความร้อนในการเซ็ทตัว จึงทำให้เกิดโครงสร้างโมเลกุลยึดเกาะกันเป็นเนื้อโฟม

 

พียูโฟมสามารถลดความร้อนใต้หลังคาได้มากถึง 15 องศา – 35 องศา ทำให้ปกป้องความร้อนภายนอกจากแสงอาทิตย์ และลดการสูญเสียความเย็นภายในอาคาร อากาศเย็นภายในบ้านจึงคงทนอยู่นาน ทำให้ช่วยประหยัดค่าแอร์ได้อย่างดีเยี่ยม  ในการป้องกันเสียงรบกวนนั้น สามารถลดเสียงจากภายนอกได้ 20 เดซิเบล – 40 เดซิเบล โดยเสียงฝนตกมีความดังโดยประมาณอยู่ที่ 50 เดซิเบล – 70 เดซิเบล หากเลือกติดฉนวนพียูโฟม PU Foam จะทำให่้เสียงรบกวนที่มาจากภายนอกบ้านลดลง ทำให้ภายในบ้านเงียบ ลดมลภาวะทางเสียงได้เป็นอย่างดี จึงเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน ด้วยความแข็งแรง ทนทานมีอายุการใช้งานที่ยาวนานนับ 10 ปี  ช่วยประหยัดเวลาในการติดตั้งและประหยัดงบประมาณ

 

ตัวอย่างรูป แผ่นเมทัลชีท

     

      

 

 

 

Read More

ความรู้งานก่อสร้าง “งานตอกเสาเข็มไมโครไพล์”

ความรู้งานก่อสร้าง

เรื่อง งานตอกเสาเข็มไมรโคไพล์

วิธีการและขั้นตอนการตอกเสาเข็มไมโครไพล์

ขั้นตอนและกรรมวิธีการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ คือ จะทำการตอกเสาเข็มท่อนแรกลงไปในดินจนเกือบมิดก่อน แล้วใช้ปั้นจั่นดึงเสาเข็มท่อนต่อไป นำไปต่อกับเสาเข็มต้นที่ตอกไว้ให้สนิทแล้วทำการเชื่อมให้สนิท  การเชื่อมจะต้องเชื่อมอย่างประณีตโดยรอบให้เสาเข็มทั้งสองท่อนต่อกันอย่างสนิทและเป็นแนวเส้นตรง  จากนั้นจึงใช้ปั้นจั่นตอกลงไปต่อ

ถ้าจำนวนครั้งในการตอกน้อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่าย แสดงว่าความหนาแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนัก ยังมีไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มไมโครไพล์และตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่าจำนวนครั้งในการตอกจะเป็นไปตามที่กำหนด ในทางตรงกันข้ามถ้าจำนวนครั้งในการตอกมีมากเพียงพอแล้วแม้ว่าเสาเข็มที่ตอกนั้น จะยังจมไม่มิดก็อาจแสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการับน้ำหนักเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องต่อลงไปอีก เพราะจะฝืดและถ้าตอกต่อไปอาจทำให้เสาเข็มที่เจาะลงไปแตกหักหรือชำรุดได้ ส่วนจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็มแต่ละต้นควรจะเป็นเท่าใดนั้นวิศวกรจะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและสภาพของดิน ขนาดของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็ม

 

ข้อควรระวังและให้ความใส่ใจ เรื่องการตอกเสาเข็มไมโครไพล์

  1. เช็คว่าเสาเข็มนั้น มี ม.อ.ก. หรือไม่ โดยให้ผู้รับจ้าง นำเอกสารรับรอง ตรา ม.อ.ก. มาแสดง
  2. ตรวจสอบเงื่อนไขการ ตอกเสาเข็มไมโครไพล์ กำหนดด้วยความยาว หรือ Blow Count
  3. ขนาด พื้นที่หน้าตัด อายุของเข็ม และ คุณภาพของเสาเข็ม ถูกต้องหรือไม่
  4. ตรวจสอบ หัวเข็มได้ฉากกับแนวแกนหรือไม่เอียงเกินข้อกำหนดหรือไม่
  5. หัวเข็มตามแบบมี Dowel หรือไม่
  6. เช็คสภาพความพร้อม – ปั้นจั่น

 

ตัวอย่างการตรวจนับ การ Blow Count ตามวีดีโอ ด้านล่างนี้

  

  

 

 

 

Read More

สาระน่ารู้

ความรู้เกี่ยวกับงานโครงสร้างรากฐาน

(งานฟุตติ้งและงานคานคอดิน)

 

การทำฟุตติ้งคานคอดิน คืออะไร?

 

การทำฟุตติ้งคานคอดิน คือ การวางฐานรากของตัวบ้านทั้งหลังให้แข็งแรงนั่นเอง

คานคอดิน คือโครงสร้างส่วนล่างสุดของบ้าน ซึ่งรองรับน้ำหนักของบ้านทั้งหลัง จึงมีความสำคัญและจำเป็นจะต้องก่อสร้างออกมาให้แข็งแรงและทนทานที่สุด

ประเภทของคานคอดินนั่นมี 2 แบบ คือแบบวางบนระดับพื้นดิน กับวางสูงจากระดับพื้นดิน ซึ่งการจะวางคานคอดินแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับพื้นที่ของบ้านที่จะสร้าง

การทำคานคอดิน

  1. เทลีน คือ การเทคอนกรีตแบบบางประมาณ 5-10 เซนติเมตรเพื่อปรับหน้าดิน
  2. เตรียมแบบเทคานเพื่อทำคานคอดิน แบบเทคานอาจใช้ไม้แบบหรือเป็นการก่ออิฐบล็อคก็ได้  ซึ่งในกรณีถ้าใช้แบบอิฐบล็อคสามารถเทปูนรวมกับแบบอิฐที่ก่อได้เลย รากฐานจะมีความแข็งแรงกว่าเหมาะกับงานต่อเติมที่มีพื้นที่ที่จำกัด หรือถ้าเป็นไม้แบบ ควรเป็นไม้ที่มีพื้นผิวเรียบ แข็งแรงทนทาน ไม่แตก หักหรือบิดงอ
  3. เชื่อมคานโดยนำเหล็กหนวดกุ้งมาวางในส่วนพื้นที่ที่ว่างของคาน ควรวางให้อยู่ในระยะที่พอดี เพราะตรงจุดนี้จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างพื้นและคานให้รวมเป็นเนื้อเดียวกัน
  4. เทคอนกรีตตามแบบหล่อที่ทำไว้ หลังจากนั้นแกะแบบหล่อออก
  5. ตรวจงานการทำคานคอดินว่าถูกต้องและตรงตามที่กำหนดไว้หรือไม่ หลังจากตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยก็ปล่อยให้คอนกรีตเซ็ตตัวประมาณ 5-7 วัน
  6. หลังจากที่ครบระยะปล่อยให้คอนกรีตเซ็ตตัวแล้ว ตรวจสอบความเรียบร้อยและความแข็งแรงอีกครั้ง จึงค่อยเริ่มทำงานในขั้นตอนต่อไป

 

ตัวอย่างการทำคานคอดิน

 

 

 

 

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การทำคานคอดินคือปัจจัยที่มีความสำคัญต่อโครงสร้างบ้านเป็นอย่างมาก ซึ่งจะเป็นการรับน้ำหนักของตัวบ้านทั้งหลัง จึงต้องมีความละเอียด ถี่ถ้วนอีกทั้งวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้จะต้องมีคุณภาพ แข็งแรงได้มาตรฐาน

เพราะการสร้างบ้านที่ดีนั้นถ้าเราเริ่มจากรากฐานที่มั่นคงส่วนประกอบอื่นๆของตัวบ้านก็จะมีความมั่นคงแข็งแรงตามไปด้วย ช่วยให้เราได้บ้านที่ปลอดภัยและยังช่วยยืดอายุการใช้งานของบ้านได้อีกด้วย

 

Read More