ความรู้งานก่อสร้าง “การรับน้ำหนักของพื้นคอนกรีต”
สาระน่ารู้ : การรับน้ำหนักของพื้นคอนกรีต
ในการคำนวณการรับน้ำหนักของพื้นคอนกรีตนั้นวิศวกรได้คำนวณมาตรฐานของคอนกรีตไว้สำหรับการรับน้ำหนักแรงกดลงพื้น
วันนี้ขอเสนอความรู้เกี่ยวกับการรับน้ำหนักของพื้นอาคารมาฝากครับ
พื้นคอนกรีตที่หนาช่วง 10-15ซม. จะเป็นพื้นบ้านหรืออาคารพาณิชย์ทั่วไป ที่เป็นแผ่นพื้นสำเร็จ ที่มีความหนาอยู่ที่ 10ซม. นั่นเอง หากเทท็อปปิ้งด้วยก็จะมีความหนา 15ซม. (ท็อปปิ้งมักเท5ซม.)
ในการคอริ่ง หากไม่โดนตำแหน่งคาน ก็สามารถเจาะได้ทุกตำแหน่งตามปกติ พื้นคอนกรีตที่หนาช่วง 20-25ซม จะเป็นพื้นอาคารสูง(ที่มีลิฟต์) พื้นแบบเท(หล่อแบบ)มีสลิง ที่เรียกกันว่า ‘พื้นโพสเทนชั่น’ โดยระยะสลิงมักจะอยู่ในช่วง 15ซม ลงมาจากผิวพื้น ซึ่งในการคอริ่งเจาะรูพื้นประเภทนี้ต้องระวัง หลีกเลี่ยง สลิง ในพื้นด้วย
พื้นคอนกรีตที่หนาช่วง 25-30ซม จะเป็นพื้นชั้นแรกของอาคาร ,ชั้นใต้ดิน ,โกดัง ,โรงงาน ที่ต้องรับน้ำหนักมากในการวางของ หรือวางเครื่องจักร จึงมีเหล็กในพื้นหนาแน่น และมีขนาดใหญ่ ทำให้การคอริ่งตอนเจาะใช้เวลานาน
นอกจากจะเจอเหล็กหลายชั้นแล้ว บางแห่งใช้คอนกรีตที่มีความแข็ง (Concrete compressive strength) สูงมากกว่าปกติ เพื่อช่วยในการรับน้ำหนักของพื้นมากขึ้นไปอีก ทำให้ช่วงคอริ่งเจาะปูน ก็เจาะได้ช้าลงด้วยที่ปูนมีความแข็งมากขึ้น
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการรับน้ำหนักของพื้นอาคาร (คัดลอกจาก www.civilclub.net)
ประเภทการใช้อาคาร | น้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำ (กก.ตร.ม.) |
. พื้นกันสาดหรือพื้นหลังคาคอนกรีต | 100 |
. ที่พักอาศัย โรงเรียนอนุบาล ห้องน้ำ-ห้องส้วม | 150 |
. ห้องแถว ตึกแถว อาคารชุด หอพัก โรงแรม | 200 |
. สำนักงาน ธนาคาร | 250 |