ความรู้งานก่อสร้าง “งานตอกเสาเข็มไมโครไพล์”

ความรู้งานก่อสร้าง

เรื่อง งานตอกเสาเข็มไมรโคไพล์

วิธีการและขั้นตอนการตอกเสาเข็มไมโครไพล์

ขั้นตอนและกรรมวิธีการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ คือ จะทำการตอกเสาเข็มท่อนแรกลงไปในดินจนเกือบมิดก่อน แล้วใช้ปั้นจั่นดึงเสาเข็มท่อนต่อไป นำไปต่อกับเสาเข็มต้นที่ตอกไว้ให้สนิทแล้วทำการเชื่อมให้สนิท  การเชื่อมจะต้องเชื่อมอย่างประณีตโดยรอบให้เสาเข็มทั้งสองท่อนต่อกันอย่างสนิทและเป็นแนวเส้นตรง  จากนั้นจึงใช้ปั้นจั่นตอกลงไปต่อ

ถ้าจำนวนครั้งในการตอกน้อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่าย แสดงว่าความหนาแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนัก ยังมีไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มไมโครไพล์และตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่าจำนวนครั้งในการตอกจะเป็นไปตามที่กำหนด ในทางตรงกันข้ามถ้าจำนวนครั้งในการตอกมีมากเพียงพอแล้วแม้ว่าเสาเข็มที่ตอกนั้น จะยังจมไม่มิดก็อาจแสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการับน้ำหนักเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องต่อลงไปอีก เพราะจะฝืดและถ้าตอกต่อไปอาจทำให้เสาเข็มที่เจาะลงไปแตกหักหรือชำรุดได้ ส่วนจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็มแต่ละต้นควรจะเป็นเท่าใดนั้นวิศวกรจะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและสภาพของดิน ขนาดของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็ม

 

ข้อควรระวังและให้ความใส่ใจ เรื่องการตอกเสาเข็มไมโครไพล์

  1. เช็คว่าเสาเข็มนั้น มี ม.อ.ก. หรือไม่ โดยให้ผู้รับจ้าง นำเอกสารรับรอง ตรา ม.อ.ก. มาแสดง
  2. ตรวจสอบเงื่อนไขการ ตอกเสาเข็มไมโครไพล์ กำหนดด้วยความยาว หรือ Blow Count
  3. ขนาด พื้นที่หน้าตัด อายุของเข็ม และ คุณภาพของเสาเข็ม ถูกต้องหรือไม่
  4. ตรวจสอบ หัวเข็มได้ฉากกับแนวแกนหรือไม่เอียงเกินข้อกำหนดหรือไม่
  5. หัวเข็มตามแบบมี Dowel หรือไม่
  6. เช็คสภาพความพร้อม – ปั้นจั่น

 

ตัวอย่างการตรวจนับ การ Blow Count ตามวีดีโอ ด้านล่างนี้

  

  

 

 

 

Read More

สาระน่ารู้

ความรู้เกี่ยวกับงานโครงสร้างรากฐาน

(งานฟุตติ้งและงานคานคอดิน)

 

การทำฟุตติ้งคานคอดิน คืออะไร?

 

การทำฟุตติ้งคานคอดิน คือ การวางฐานรากของตัวบ้านทั้งหลังให้แข็งแรงนั่นเอง

คานคอดิน คือโครงสร้างส่วนล่างสุดของบ้าน ซึ่งรองรับน้ำหนักของบ้านทั้งหลัง จึงมีความสำคัญและจำเป็นจะต้องก่อสร้างออกมาให้แข็งแรงและทนทานที่สุด

ประเภทของคานคอดินนั่นมี 2 แบบ คือแบบวางบนระดับพื้นดิน กับวางสูงจากระดับพื้นดิน ซึ่งการจะวางคานคอดินแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับพื้นที่ของบ้านที่จะสร้าง

การทำคานคอดิน

  1. เทลีน คือ การเทคอนกรีตแบบบางประมาณ 5-10 เซนติเมตรเพื่อปรับหน้าดิน
  2. เตรียมแบบเทคานเพื่อทำคานคอดิน แบบเทคานอาจใช้ไม้แบบหรือเป็นการก่ออิฐบล็อคก็ได้  ซึ่งในกรณีถ้าใช้แบบอิฐบล็อคสามารถเทปูนรวมกับแบบอิฐที่ก่อได้เลย รากฐานจะมีความแข็งแรงกว่าเหมาะกับงานต่อเติมที่มีพื้นที่ที่จำกัด หรือถ้าเป็นไม้แบบ ควรเป็นไม้ที่มีพื้นผิวเรียบ แข็งแรงทนทาน ไม่แตก หักหรือบิดงอ
  3. เชื่อมคานโดยนำเหล็กหนวดกุ้งมาวางในส่วนพื้นที่ที่ว่างของคาน ควรวางให้อยู่ในระยะที่พอดี เพราะตรงจุดนี้จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างพื้นและคานให้รวมเป็นเนื้อเดียวกัน
  4. เทคอนกรีตตามแบบหล่อที่ทำไว้ หลังจากนั้นแกะแบบหล่อออก
  5. ตรวจงานการทำคานคอดินว่าถูกต้องและตรงตามที่กำหนดไว้หรือไม่ หลังจากตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยก็ปล่อยให้คอนกรีตเซ็ตตัวประมาณ 5-7 วัน
  6. หลังจากที่ครบระยะปล่อยให้คอนกรีตเซ็ตตัวแล้ว ตรวจสอบความเรียบร้อยและความแข็งแรงอีกครั้ง จึงค่อยเริ่มทำงานในขั้นตอนต่อไป

 

ตัวอย่างการทำคานคอดิน

 

 

 

 

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การทำคานคอดินคือปัจจัยที่มีความสำคัญต่อโครงสร้างบ้านเป็นอย่างมาก ซึ่งจะเป็นการรับน้ำหนักของตัวบ้านทั้งหลัง จึงต้องมีความละเอียด ถี่ถ้วนอีกทั้งวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้จะต้องมีคุณภาพ แข็งแรงได้มาตรฐาน

เพราะการสร้างบ้านที่ดีนั้นถ้าเราเริ่มจากรากฐานที่มั่นคงส่วนประกอบอื่นๆของตัวบ้านก็จะมีความมั่นคงแข็งแรงตามไปด้วย ช่วยให้เราได้บ้านที่ปลอดภัยและยังช่วยยืดอายุการใช้งานของบ้านได้อีกด้วย

 

Read More